เลิกขัดด้วยการพูด! กระทบจิตใจ LGBTQIA+ ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน!
การอยู่ร่วมกับ LGBTQIA+ ไม่ใช่เรื่องแปลงประหลาดเพียงเปิดใจรับฟัง แต่ยังคงมีอีกหลายบ้านที่ยังไม่ยอมรับและคิดว่าคำพูดจาแรงๆ อาจทำให้ลูกหลานเปลี่ยนได้ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ผิดเสี่ยง ลดทอนเหตุและผล
ปัจจุบัน LGBTQIA+ ถูกยอมรับกันในวงกว้าง ซึ่งหลายต่อหลายครอบครัวต้องอยู่ร่วมกับเด็กที่มีความพิเศษในตัวเอง และอาจเผลอพูดขัดลูก ด้วยการพูดให้รู้สึกกลัวโดยไม่รู้ตัว หรือยังคงไม่ยอมรับ และคิดว่าการกระทำคำพูดที่รุนแรงเหล่านั้น อาจเปลี่ยนหรือหยุดเด็กให้เลิกเป็น LGBTQIA+ ให้เลิกทำสิ่งที่ทำอยู่ได้ทันที ซึ่งมีคำพูดที่ทิ่มแทงหลายคำพูดที่อาจสร้างบาดแผลใหญ่ให้กับเด็กๆได้ หากนึกไม่ออก รูปประโยชน์จะเป็นในลักษณะ
- เป็นเด็กชายทำไมใส่กระโปรง เดี๋ยวก็ไม่มีใครคบหรอก
ส่องข้อมูลเชิงลึกโซเชียล ชาวเน็ตไทยรู้สึกอย่างไรกับ "สมรสเท่าเทียม"
LGBTQ+ ความหลากหลายที่พ่อแม่ควรเข้าใจและยอมรับอย่างถูกต้อง
- ถ้าจะเป็น ตุ๊ด แต๋ว ก็ออกจากบ้านไปเลย
- โตไปใครเขาจะจริงใจ ส่วนมากก็เขามาหลอกทั้งนั้นแหละ เป็นต้น
การห้ามเพื่อหยุดด้วยวิธีเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหา
- เด็กอาจเกิดความกังวลและปฏิเสธ หรือ หลีกเลี่ยงสิ่งนั่น หรือ สิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่างสุดโต่งไปจนถึงวันผู้ใหญ่ (เช่น เกิดการสับสนในทางตัวต้องเลือกระหว่างถูกใจครอบครัว กับ เป็นตัวของตัวเอง)
- เป็นการสกัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เช่น หากเด็ก ๆ อยากแต่งกายอิสระตามใจตัวเอง อาจจะเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเรื่อง การออกแบบเครื่องแต่งกาย จนกลายเป็นอาชีพได้ในอนาคต หรือ กิจกรรมเสริมทักษะอย่าง การร้อง การเต้น การแสดง ฯลฯ เป็นต้น
- ถูกลดทอนความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล เช่น การที่คนเราจะจริงใจต่อกัน ไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ ไม่ว่าจะ LGBTQ+ หรือ ชายหญิง ทุกคนมีสิทธิ์เจอคนทุกรูปแบบเท่ากัน
- เกิดการลดความไว้วางใจในตัวผู้ใหญ่ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รู้สึกปลอดภัย เช่น อย่าดุ อย่าเปรียบเทียบ เขากับใคร อย่าผลักใส่ไล่ส่ง เพียงแค่เขาเลือกจะเป็นในสิ่งที่เขาเกิดมาเป็น แต่ควรปรับความเข้าใจ ด้วยการรับฟังสิ่งที่เขาพูด สิ่งที่เขารู้สึกอย่างใจเย็นดีกว่า
“โฮโมโฟเบีย” อาการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน ป่วยทางใจไม่ใช่อคติ?
นอกจากนี้ การพูดให้เด็กชาว LGBTQ+ รู้สึกลบอาจะส่งผลต่อเนื่องทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะสร้างวินัยในตนเอง แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เลือกทำในสิ่งที่ควรทำและเลือกหยุดในสิ่งที่ควรหยุด โดยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ในทางกลับกันครอบครัว ควรสอนในสิ่งที่ถูกต้องและใช้เหตุผลที่เหมาะสมในการคุยกับลูก และแสดงความชื่นชมเมื่อเขาทำสิ่งดี ๆ ที่น่าชมเชย พร้อมที่จะหาวิธีส่งเสริมพัฒนาให้พวกเขาในแต่ละด้านอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข