“โฮโมโฟเบีย” อาการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน ป่วยทางใจไม่ใช่อคติ?
ปัจจุบันสังคมไทยและสังคมโลกเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นถึงความต่างที่สวยงามและให้การยอมรับ LGBTQ+ แต่แน่นอน มีคนมากมายที่ยังตั้งคำถาม เผยความรู้ความเข้าใจ “โฮโมโฟเบีย” อาการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน อาการป่วยหรือแค่อคติ?
อาการกลัว นับเป็นสัญญาชาติการเป็นมนุษย์ ซึ่งบางครั้งมันก็เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลหรืออาจจะมีแต่เราไม่รู้ว่ามันเริ่มตั้งแต่ตอนไหน ลึก ๆ ในใจเราก็ไม่ได้อยากเกลียดกลัวสิ่งนั้นเลย แต่ร่างกายกลับตอบสนองอัตโนมัติเสียอย่างนั้น
โฟเบีย (Phobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่จะมีอาการกลัวขั้นรุนแรงต่อสถานการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างโดยจะไม่ค่อยมีเหตุผลแต่ก็ไม่สามารถควบคุมได้

ไม่ใช่แค่สะดุ้งตกใจ แต่เป็นถึงขั้นที่รบกวนการใช้ชีวิต ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่กลัวเราก็จะตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้วยความกลัวที่อธิบายไม่ได้ และแน่นอนรวมถึงความต่างของรสนิยมด้วย
รู้จัก โฮโมโฟเบีย (Homophobia) ความกลัวการเข้าใกล้คนรักเพศเดียวกัน
จอร์จ ไวน์เบิร์ก นักจิตวิทยาจากสหรัฐฯ เป็นผู้คิดค้นคำนี้ขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1960 โดยนิยามว่า "ความกลัวการเข้าใกล้คนรักเพศเดียวกัน" สื่อถึงอาการกลัวคนที่รักเพศเดียวกัน ต่อต้านการรักร่วมเพศ ไม่ว่า ‘ชายรักชาย’ หรือ ‘หญิงรักหญิง’ รวมถึงพฤติกรรมและภาพต่าง ๆ ที่สื่อถึงการรักร่วมเพศ คล้ายการแอนตี้อย่างรุนแรง
ไม่ใช่แค่เรื่องของความคิดหรือทัศนคติ เพราะมันเกี่ยวพันกับปัญหาทางสุขภาพใจ
ซึ่งเพราะแบบนี้จึงต้องแยกอาการป่วยออกจากทัศนคติส่วนตัว แม้มันจะเชื่อมโยงกันอยู่บ้างแต่อาการป่วยใจเป็นสิ่งที่รักษาได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยบางส่วนที่กล่าวว่าไม่ใช่แค่รังเกียจความรักของเพศเดียวกัน แต่โฮโมโฟเบียอาจสื่อถึงความกลัวที่จะรักเพศเดียวกันด้วย
ลักษณะที่แสดงออก
-
ถอยหนีและโจมตี บางคนอาจแสดงท่าทีรังเกียจอย่างชัดเจน ไ
-
ฏิเสธที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในทุก ๆ กรณี
-
บางคนก็ใช้วิธีแสดงออกที่รุนแรงอย่างการด่าทอ ใช้คำหยาบคายในการเรียกกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน
-
แสดงพฤติกรรมเชิงลบต่าง ๆ ให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่หรือไม่มีคุณค่า
-
กีดกันออกจากกลุ่ม ไปจนถึงการทำร้ายร่างกาย
ยกตัวอย่างบางเคสถึงขั้นทำลายเอกสารที่มีคำว่า Gay ปรากฎอยู่ หรือต่อยตีเพื่อนร่วมงานที่เป็นเกย์โดยไม่มีสาเหตุ
ศาสตราจารย์เอ็มมานูเอล เอ. แจนนินิ จากม University of Rome Tor Vergata กล่าวว่าการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพบางอย่าง และอาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางใจได้ถ้ามีความรุนแรงรวมอยู่ด้วย เขามองเห็นความเชื่อมโยงของการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันกับภาวะโรคจิต (psychoticism) กลไกการป้องกันตัวเองที่ไม่สมบูรณ์ และการผูกพันกับพ่อแม่ที่นำไปสู่ความรู้สึกไม่มั่นคงที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
พฤติกรรม "ชอบพูดแทรก" เป็น 1 ในอาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
ปัจจัยกระตุ้นโฮโมโฟเบีย
-
วัยเด็กอาจเติบโตมาในครอบครัวที่มีแบบแผนเคร่งครัดมาก ๆ ในเรื่องเพศ
-
อยู่ในสังคมที่มีการแบ่งแยกบทบาทของชายหญิงอย่างชัดเจน
-
บางคนอาจมีประสบการณ์เลวร้ายจากคนเพศเดียวกัน การถูกล่วงละเมิดทางเพศ จนกลายเป็นความหวาดระแวง กลัวสายตาคนรอบข้าง กลัวการล้อเลียนดูถูก
ไม่เพียงเท่านั้นคนรักเพศเดียวกันจำนวนหนึ่งก็เป็นโฮโมโฟเบียเช่นกัน กลายเป็นความรู้สึกที่ทับถมกันเนื่องจากทัศนคติดั้งเดิมคือเกลียดชังคนรักร่วมเพศ แต่ภายหลังเรากลับรู้ตัวว่ามีรสนิยมชื่นชอบเพศเดียวกัน ทำให้เกิดความย้อนแย้งหรือรู้สึกผิดอยู่ภายในลึก ๆ กลายเป็นความรู้สึกไม่ชอบและไม่เข้าใจตัวเองได้
ในบางประเทศอย่างบราซิล ปัญหาความรุนแรงต่อกลุ่มความหลากหลายทางเพศค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีกลุ่ม LGBTQ+ ถูกทำร้ายร่างกายและฆาตรกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ศาลสูงของบราซิลต้องออกมาวินิจฉัยให้ ‘โฮโมโฟเบีย’ และ ‘ทรานส์โฟเบีย’ หรืออาการเกลียดกลัวคนข้ามเพศ ถือเป็นอาชญากรรมเพราะรุนแรงไม่ต่างจากปัญหาการเหยียดชาติพันธุ์
การรักษาโฮโมโฟเบีย
ยังไม่มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่นักวิจัยจำนวนมากเชื่อว่าเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเข้าใจที่มากขึ้น การที่คนมากมายออกมาเคลื่อนไหวเรื่องความหลากหลายทางเพศ เริ่มมีการยอมรับการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน การออกมาแสดงจุดยืนและตัวตนของคนกลุ่มหนึ่งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในเชิงกฎหมายและสถานะทางสังคม และยังทลายกำแพงในใจของคนที่เคยมีอคติต่อกลุ่มคนรักเพศเดียวกันให้ค่อย ๆ หันมายอมรับมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : Ooca อูก้า แอปฯจิตวิทยา
ซึมเศร้าวันหยุดยาว Holiday Depression เมื่อเทศกาล ไม่ใช่ความสุขของทุกคน
“โรคสมาธิสั้น”พบในเด็กไทยเฉลี่ย 4 แสนคนต่อปี เผยสัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม