ศบค. เคาะใหม่ "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงไม่ต้องกักตัวแล้ว" ปรับแนวทางรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น
เช็กข้อมูลที่นี่ อัปเดตใหม่ล่าสุด มติ ศบค. 20 พ.ค. 65 ปรับนิยาม ใครบ้างเป็น "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" ไม่ต้องกักตัวแล้ว แนะให้สังเกตอาการแทน ปรับแนวทางใหม่ โควิดวันนี้ ใกล้เป็นโรคประจำถิ่น
จากมติศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง อาการความรุนแรงของโรคลดลง จากสถิติของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิต จึงมีการปรับเปลี่ยนมาตรการด้านสาธารณสุขใหม่ กำหนดแนวทางการจัดการ "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ให้สังเกตอาการตนเอง 10 วัน โดยไม่จำเป็นต้องกักตัว
“สถานบันเทิง-อาบ อบ นวด” เปิด 1 มิ.ย. 65 คลุกคลีใกล้ชิดลูกค้าต้องสวมหน้ากาก
ผู้เชี่ยวชาญเตือน การระบาดของ “ฝีดาษลิง” ไม่ปกติ แนะจับตาใกล้ชิด
"โรคฝีดาษลิง" คืออะไร เผยอาการ วิธีการติดต่อ และการป้องกัน
นิยาม : ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้ที่ไม่สวมหน้ากาก หรือไม่ได้ใส่ Personal Protective Equipment (PPE) ตามมาตรฐานตลอดช่วงเวลาที่มีการสัมผัส และ
- ใกล้ชิด/พูดคุยกับผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในระยะ 2 เมตร นานกว่า 5 นาที (หรือภูกไอจามรดจากผู้ป่วย) ตั้งแต่ 2-3 วันเริ่มมีอาการป่วย หรือขณะมีอาการ
- อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทมากนัก ร่วมกับผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อโควิด 19 นานกว่า 30 นาที
หน้าฝนต้องระวังสุขภาพ 5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
แนวทางจัดการ : ให้สังเกตอาการตนเอง 10 วัน (ไม่กักตัว) และให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สามารถไปทำงานได้ แต่ต้องแยกพื้นที่กับผู้อื่น
- ปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention
- งดไปสถานที่สาธารณะ
- งดร่วมกิจกรรมร่วมกลุ่มคนจำนวนมาก
- งดใช้ขนส่งสาธารณะที่หนาแน่น
ยกเว้น : กลุ่มผู้ดูแลสัมผัสใกล้ชิดกลุ่ม 608 และเด็กเล็ก ให้ งด การอยู่ใกล้ชิดกลุ่มดังกล่าวอย่างน้อย 10 วัน และตรวจ ATK ในวันที่ 5 และ 10 หลังสัมผัสครั้งสุดท้าย หรือ เมื่อมีอาการป่วย
สธ.เผย “โควิด” ดีขึ้นมาก คาดปรับเป็นโรคประจำถิ่นเร็วกว่าเดิมครึ่งเดือน