เปิดนโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. มีจุดเด่นแตกต่างกันอย่างไร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สำรวจนโยบายผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. บางนโยบายของทั้ง 4 คน ที่เป็นนโยบายในลักษณะเดียวกัน จะมีจุดเด่นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เริ่มที่นโยบายแรกที่ทั้ง 4 คน มีเหมือนกัน คือ เรื่อง "การจัดการปัญหาน้ำท่วม" นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร กับนโยบาย “ลอกท่อ-คลองแทนอุโมงค์ยักษ์” โดยเป้าหมาย คือ จะจัดการเรื่องงบประมาณการทำ อุโมงค์ยักษ์เท่าที่จำเป็น แล้วเอางบประมาณมาลอกท่อทั่วเมืองลอกคลองทั่วกรุง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในตรอกในซอยด้วย ขณะที่พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง กับนโยบายแก้ปัญหาน้ำท่วม อีก 9 จุดที่เหลือ

เปิดมุมมอง First Time Voter กับผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

วิเคราะห์จุดเด่นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.

 

ต่อเนื่องจากกรณีน้ำท่วมทั้ง กทม. 24 จุด ที่ท่วมซ้ำซาก ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ตั้งแต่ปี 59 สามารถแก้ไขได้เหลือเพียง 9 จุดเท่านั้น

นาย สกลธี ภัททิยกุล นโยบายเกี่ยวกับน้ำท่วม จะจัดการเรื่อง ปรับปรุงระบายน้ำ และจัดการผังเมือง และนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กับ นโยบายเปลี่ยนเมือง ด้วยการเพิ่มพื้นที่แก้มลิงใต้ดินบริเวณสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เมื่อฝนตกน้ำฝนจะระบายไปกักเก็บในแก้มลิงใต้ดิน ลดปริมาณน้ำบนพื้นผิวถนน และสูบออกหลังฝนหยุด ใช้ปั๊มไฟฟ้าและประตูระบายน้ำอัตโนมัติ รวมถึง เริ่มโครงการป้องกันน้ำทะเลหนุนแม่น้ำเจ้าพระยา

ประวัติ “สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” จากอธิการบดีสจล. กระโดดสู่สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

นโยบาย "สิ่งแวดล้อม" นายวิโรจน์ กับ นโยบาย เปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนสาธารณะ ด้วยการเวนคืนที่ดิน

พลตำรวจเอก อัศวิน กับนโยบาย  เพิ่มพื้นที่สีเขียว โครงการปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์พระราชา เพื่อลดการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลในเขตเมืองหลวง ทำให้ได้พื้นที่กลับคืนมาแล้ว 240 ไร่

นายสกลธี กับ นโยบาย เพิ่มสวนสาธารณะใกล้บ้าน และนาย สุชัชวีร์ กับนโยบาย เปลี่ยนเมืองให้ปลอดภัยและน่าอยู่ อย่างการ จัดการอาคารก่อสร้าง แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จัดการระบบจัดเก็บขยะ ทั้งวิธีการและระบบคัดแยกขยะ จัดเก็บให้ทันเวลาไม่ให้ขยะตกค้าง และสร้างสวนสาธารณะ

สำหรับนโยบาย สิ่งแวดล้อม ยังมี ว่าที่ผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีโนยบายออกมา แน่ชัด อย่างนางสาวรสนา โตสิตระกูล แต่ก็น่าสนใจเช่นกัน อย่างการชูนโยบายสำคัญ 3 ประการ สอดคล้องกับสภาวะของทั้งโลกที่กำลังเผชิญร่วมกัน ประกอบด้วย การไม่มีงานทำ โลกร้อน และความเหลื่อมล้ำ

โดยเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่น่าสนใจ คือ นโยบายทำ "โซลาร์ รูฟ" (Solar Roof) บนหลังคา เสมือนเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ผลิตและขายไฟ หรืออย่างน้อยขายไม่ได้ ก็ลดค่าไฟลง เพราะฉะนั้นโซลาร์ รูฟ คือธนาคารบนหลังคา ซึ่ง นางสาวรสนา ถึงกับ ลั่นไว้ว่า “ถ้าดิฉันเป็นผู้ว่าฯ กทม. ดิฉันจะทำแน่นอน"

ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นอีก 1 คน ที่เคลื่อนไหวมาตลอดตั้งแต่แรก  ชูแคมเปญ "กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" ส่วนนโยบาย จากข้อมูลพบว่า มีมากถึง 200 นโยบาย หากเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม มีการเสนอให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวและลานกีฬาให้เดินถึงภายใน 15 นาที จัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างกำแพงกรองฝุ่น ตรวจจับรถปล่อยควันดำเชิงรุกจากต้นทาง แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เป็นต้น

"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้สมัครอิสระ ชูนโยบาย PDGE แก้ปัญหากทม.

นโยบาย "การแก้ปัญหาการจราจร" เริ่มที่ นายวิโรจน์ กับนโยบายการยกระดับรถเมล์ ปรับปรุงคุณภาพรถเมล์ เพิ่มเส้นทางเดินรถเมล์ให้ผ่านชุมชน เพื่อคนทุกกลุ่ม เพราะไม่เพียงแต่ช่วยลดปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อม และอุบัติเหตุได้ แต่ยังส่งเสริมเศรษฐกิจตามเส้นทางที่รถเมล์ผ่านคึกคักด้วย และจะเป็นการกระจายรายได้ที่ดี แทนการขับรถยนต์

พลตำรวจเอกอัศวิน เสนอนโยบายระบบเชื่อมต่อการเดินทาง "ล้อ ราง เรือ" คือการเชื่อมต่อการเดินทางทางรถยนต์ รถไฟฟ้า และเรือ โดยกรุงเทพฯ ได้สร้างเรือที่วิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทยแล้ว โดยให้บริการ 11 ท่าตลอดคลองผดุงกรุงเกษม ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือในคลองแสนแสบ

นายสกลธี กับการ นำระบบ ATC หรือ Actual Traffic Control ซึ่งคือ ระบบ AI สัญญาณไฟจราจร ช่วยคำนวณการปล่อยรถแต่ละแยก ทำระบบเชื่อมต่อระบบล้อ ราง เรือ ทำรถ Feeder รับ-ส่งคนบนถนนสายรอง เดินเรือ EV รวมถึงผลักดัน 2 ไฟฟ้าอีก 2 เส้นทางคือ สายสีเทา และสีเงิน รวมถึงบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

จากข้อมูลของ นายสกลธี พบว่า ปัจจุบัน กทม.มีรถจดทะเบียน 11 ล้านคัน แต่มีถนนเพียง 5-6% จะเห็นว่าถนนมีไม่พอกับรถ ซึ่งคือสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดรถติด ดังนั้นต้องหาทางทำให้คนหันมาใช้รถสาธารณะให้มากขึ้น

และนายสุชัชวีร์ กับนโยบาย แก้ปัญหาจราจรเบ็ดเสร็จ  ด้วยคอมพิวเตอร์ AI  ขอคืนผิวทางจราจรทำทางเท้าได้มาตรฐาน มีการบังคับใช้กฎจราจรเข้มข้นและเท่าเทียม ที่น่าสนใจคือ การสร้างทางจักรยานลอยฟ้า

ประวัติ “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ทิ้งเก้าอี้ส.ส.ลงชิงผู้ว่าฯกทม.

ส่วน นโยบาย ของ นายชัชชาติ  จะใช้ระบบจัดการจราจรอัจฉริยะ (ITMS) บริหารจราจรทั้งโครงข่ายพัฒนารถสาธารณะทั้งระบบ เพื่อรถสายหลักและรอง (trunk and feeder) ราคาถูกและราคาเดียว พัฒนาจุดจอดจักรยานที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ เป็นต้น

ปิดท้ายกับ นโยบาย "ด้านสุขภาพ" นาย วิโรจน์ นำเสนอ เรื่องการ เพิ่มเบี้ย แก่กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิด และคนพิการ รวมถึง บริการฉีดวัคซีนฟรี  ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และปอดอักเสบ โดยเฉพาะ วัคซีนไข้เลือดออก จะเสนอ ให้เยาวชน อายุ 9-16 ปี ที่เคยติดไข้เลือดออกมาแล้วครั้งหนึ่ง ได้รับสิทธิ์ฟรี

นโยบายของพลตำรวจเอก อัศวิน ที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดี ให้กับ "คนเมืองหลวง" อย่างการ นัดพบแพทย์ภายใน 60 นาที การส่งจัดยาให้ถึงบ้าน และปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์

นายสกลธี นำเสนอ นโยบาย เพิ่มศูนย์สาธารณสุขให้ครอบคลุมประชาชน 50 เขต ปัจจุบันมีอยู่แล้ว 69 ศูนย์ และจะปรับให้เป็นสมาร์ทคลินิก นำระบบ Telemedicine มาใช้ รวมถึงเพิ่มศูนย์ให้คนเข้าถึงการรักษา สร้างจุดเด่นให้โรงพยาบาลสังกัด กทม.ทั้ง 11 แห่ง ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงดูแลกลุ่มเปราะบางเชิงรุก นำระบบ Home Monitoring มาใช้

ประวัติ “รสนา โตสิตระกูล” อดีตส.ว. เปิดตัวลงสนามชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.

ปิดท้ายที่ นาย สุชัชวีร์ กับนโยบาย หมอมี สาธารณสุขดีและใกล้บ้าน เพิ่มอุปกรณ์การแพทย์ทันสมัย ศูนย์สาธารณสุขใกล้บ้าน  และ แต่ละศูนย์สาธารณสุขมีแพทย์เฉพาะทาง 3 วันต่อสัปดาห์ รวม ถึง ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทันสมัย

นี่เป็นเพียงบางนโยบายที่ทีมข่าวพีพีทีวีดึงมาทำให้เห็น ซึ่งจะมีนโยบายของ ผู้สมัครอื่นๆ ออกมาอีกหลังจากนี้

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ