โหวตนายก : ทำความเข้าใจข้อบังคับฯ “ญัตติซ้ำ” คืออะไร!

โดย PPTV Online

เผยแพร่

“ญัตติซ้ำ”คืออะไร! ทำความเข้าใจข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ก่อนโหวตนายกฯ รอบสอง

การประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ในครั้งที่สองแล้ว หลังจากการโหวตในรอบแรก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ได้เสียงสนับสนุนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง

โดยการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรอบสองนี้ สิ่งที่น่าจับตาก่อนการโหวต ก็หนีไม่พ้นการหยิบยกประเด็น “ญัตติซ้ำ” ขึ้นมาอภิปรายในที่ประชุม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา สมาชิกรัฐสภาหลายรายต่างแสดงความกังวลว่าการเสนอชื่อ นายพิธา โหวตนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง อาจจะเข้าข่ายเป็น “ญัตติซ้ำ” หรือไม่

คอนเทนต์แนะนำ
โหวตนายก : ประชุมรัฐสภา จับตา "พิธา" ถูกโหวตเลือกนายก รอบ 2
เปิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 คืออะไร? ทำไมก้าวไกล ต้องเดินเกมแก้ไข
โหวตนายก : รู้จัก "งดออกเสียง" สำคัญอย่างไรในการโหวตเลือกนายก

แล้ว “ญัตติซ้ำ” คืออะไร แล้วทำไมต้องมีความกังวลในเรื่องนี้ พีพีทีวีจะพาไปหาคำตอบกัน

ทั้งนี้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานรัฐสภาจะอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้นอาจจะสรุปได้ว่า หากที่ประชุมรัฐสภาเห็นว่าการเสนอชื่อ นายพิธา โหวตนายกรัฐมนตรีในรอบที่สอง ถือเป็น “ญัตติซ้ำ” อาจจะทำให้นายพิธาหมดโอกาสที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ไปโดยปริยาย

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ