เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 67 สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และ บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด (ทรูโฟร์ยู ช่อง 24) จัดงานประกาศรางวัล “สุพรรณหงส์ครั้งที่ 32 ประจำปี 2566” ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อมอบรางวัลทรงคุณค่าให้กับผลงานและบุคลากรในวงการภาพยนตร์ไทย
งานปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ “แสงแห่งกันและกัน” ซึ่งไอเดียมาจาก “แสงแห่งศรัทธา” ที่ผู้สร้างหนังและผู้ชมภาพยนตร์ต่างร่วมกันรักษาและสอดส่องดูแล เปรียบได้ดั่ง “ความร่วมมือร่วมใจในกันและกัน” เพื่อก้าวไปสู่ “ยุคทอง” ครั้งใหม่ของหนังไทยต่อไป โดยจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2567
เปิดฉากงานด้วยพาเหรดเดินพรมแดงจากเหล่า ผู้กำกับ นักแสดง จากค่ายภาพยนตร์ต่าง ๆ ที่มาร่วมงานอย่างคับคั่ง ได้แก่ ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์, ไอซ์ซึ-ณัฐรัตน์ นพรัตยากรณ์, มุกดา นรินทร์รักษ์, โตโน่-ภาคิน คำวิไลศักดิ์, โต้ง-บรรจง ปิสันธนะกูล (ผู้อำนวยการสร้าง), โขม-ก้องเกียรติ โขมศิริ (ผู้กำกับ), วรรณแวว และ แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ (ผู้กำกับ), อัตตา เหมวดี (ผู้กำกับ), มุก-ปิยะกานต์ บุตรประเสริฐ (ผู้กำกับ), แหลม-สมพล รุ่งพาณิชย์,อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล จี๋-สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร, สหัสชัย ชุมรุม, ทราย-อินทิรา เจริญปุระ, แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะ, ณัฏฐ์ กิจจริต, วันเดอร์เฟรม, ลุค อิชิคาว่า, เอก-ธเนศ วรากุลนุเคราะห์, ต่าย-เพ็ญพักตร์ ศิริกุล, มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน, ใบปอ-ธิติยา จิระพรศิลป์, โทนี่ บุยเซอเรท์, จั๊มพ์-พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ, ต้องเต-ธิติ ศรีนวล, ตาต้า-ชาติชาย ชินศรี, คิมม่อน-วโรดม เข็มมณฑา, รัฐบาล พรหมสาขา ณ สกลนคร, เมเบิ้ล-สิริวลี สิริวิบูลย์, ลิลลี่ เหงียน, รัก-สุลักษมิ์ ศิริภัทรพงศ์, มู่หลาน-เสกพร สุพรรณธนพงษ์, แนส-นภิสรา สนธิขันธ์, บาส-อัศวภัทร์ ผลพิบูลย์ และ ต๋อง-ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา
เช็กสิทธิรัฐจ่าย เงินดิจิทัล 10000 บาท โอนงวดสุดท้าย 2.26 ล้านคน ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ผู้พิการ
สรุปดรามา! ทองออนไลน์ “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” เกิดอะไรขึ้นบ้าง
เช็กสถิติหวย "สลากกินแบ่งรัฐบาล" งวดวันที่ 1 ตุลาคม ย้อนหลัง 10 ปี
สำหรับผลการประกาศรางวัล มีดังนี้
- รางวัล สุพรรณหงส์เกียรติยศ (Lifetime Achievement Award) ได้แก่ รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลย์วัฒน์ บิดาแห่งวิชาภาพยนตร์สมัยใหม่ไทย
- รางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects) ได้แก่ "ขุนพันธ์ 3" : บริษัท ฮิวแมน ฟาร์ม วีเอฟเอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด, บริษัท เซอร์เรียล สตูดิโอ จำกัด, บริษัท ดาร์ค อาร์มี่ สตูดิโอ จำกัด
- รางวัลเทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม (Best Make Up Effects) ได้แก่ "ธี่หยด" : มีนา จงไพบูลย์, อัยมี่ อิสลาม, ศิวกร สุขลังการ, อาภรณ์ มีบางยาง, รุจิระ ไชยภัฏ
- รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design) ได้แก่ "แมนสรวง" : กิจจา ลาโพธิ์, นักรบ มูลมานัส
- รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (Best Art Direction) ได้แก่ "แมนสรวง" : นักรบ มูลมานัส, สุประสิทธิ์ ภูตะคาม
- รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Best Original Score) ได้แก่ "เธอกับฉันกับฉัน" : ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล
- รางวัลเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Song) ได้แก่ "สัปเหร่อ" เพลง 'ยื้อ' : ปรีชา ปัดภัย, เซิ้ง มิวสิก
- รางวัลบันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound) ได้แก่ "ธี่หยด" : เอลวิน ที, บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด
- รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม (Best Film Editing) ได้แก่ "เพื่อน(ไม่)สนิท" : ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
- รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography) ได้แก่ "เรดไลฟ์" : บุญยนุช ไกรทอง
- รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Screenplay) ได้แก่ "สัปเหร่อ" : ธิติ ศรีนวล
- รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress) ได้แก่ "4 Kings 2" : อินทิรา เจริญปุระ
- รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor) ได้แก่ "เพื่อน(ไม่)สนิท" : พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ
- รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) ได้แก่ "เธอกับฉันกับฉัน" : ธิติยา จิระพรศิลป์
- รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor) ได้แก่ "สัปเหร่อ" : ชาติชาย ชินศรี
- รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Director) ได้แก่ "สัปเหร่อ" : ธิติ ศรีนวล
- รางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Film) ได้แก่ "The Last Breath of Sam Yan" : Young Film TH, บริษัท ฟองเมฆ จำกัด, สามย่านฟิล์ม
- รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) ได้แก่ "สัปเหร่อ" : บริษัท ไทบ้าน สตูดิโอ จำกัด, บริษัท มูฟวี่ พาร์ทเนอร์ จำกัด
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษ ได้แก่
- รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม : สัปเหร่อ
- ภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุดประจำปี 2566 : สัปเหร่อ
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ยอดนิยมประจำปี 2566 : ลอง ลีฟ เลิฟว์