นักวิทย์ พบยีราฟแคระในนามิเบีย-ยูกันดา
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
ความสูงถือเป็นข้อได้เปรียบของยีราฟในการกินใบไม้จากต้นไม้สูง ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์ต้องประหลาดใจเมื่อพบยีราฟแคระในแอฟริกาใต้

งบเยียวยาโควิดสหรัฐฯ บังคับเปิดข้อมูล “ยูเอฟโอ” ภายใน 180 วัน
“ทิเบตัน มาสทิฟฟ์” จรจัด ปัญหาใหญ่ในที่ราบสูงทิเบต
นักวิจัยที่ทำงานร่วมกับมูลนิธิอนุรักษ์ยีราฟ พบยีราฟแคระ 2 ตัวนี้ ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเมอร์ชิสันในยูกันดา และที่ฟาร์มเอกชนแห่งหนึ่งในนามิเบีย ระหว่างการสำรวจด้วยภาพถ่ายตามปกติเพื่อติดตามประชากรของยีราฟทั่วทวีปแอฟริกา โดยได้เผยแพร่การค้นพบในวารสารบริติช เมดิคัล เจอร์นัล เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
โดยยีราฟส่วนใหญ่เมื่อโตเต็มไวจะสูงระหว่าง 4.5 ถึง 6 เมตร แต่ยีราฟแคระที่นักวิจัยพบนั้นสูงเพียง 2.8 เมตร และ 2.6 เมตร แต่ยีราฟแคระทั้งสองตัวดังกล่าวมีคอยาวเหมือนยีราฟทั่วไปแต่ขาสั้นป้อม โดยงานวิจัยระบุว่า ภาวะกระดูกเจริญผิดปกติพบได้ทั่วไปในคนและสัตว์เลี้ยง แต่ยากมาก ๆ ที่จะพบในสัตว์ป่า
จูเลียน เฟนเนสซี ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิอนุรักษ์ยีราฟ ระบุว่า น่าเสียดายที่ภาวะแคระของมันไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะยีราฟวิวัฒนาการจนมีคอและขายาว เพื่อที่จะสามารถกินใบไม้บนกิ่งสูงๆ ได้ ขณะที่ยีราฟแคระก็ไม่สามารถผสมพันธุ์กับยีราฟที่มีรูปร่างปกติได้
ประชากรยีราฟทั่วโลกลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เหลือประมาณ 111,000 ตัว โดยทั้ง 4 สายพันธุ์ที่มีอยู่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมด โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น และการบุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการอนุรักษ์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็ช่วยให้จำนวนยีราฟเริ่มฟื้นตัวขึ้น
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้