มาเลเซียคาดโควิดระบาดสูงสุดเดือนนี้-ยอดตายนิวไฮ 219 คน
รายงานพรรครีพับลิกันสหรัฐฯ อ้างพบหลักฐานโควิด-19 หลุดจากแล็บอู่ฮั่น
เมื่อวันที่ 3 ส.ค.64 ทางการอู่ฮั่นประกาศ เตรียมเร่งตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ประชาชนทั้งหมด 11 ล้านคน หลังเมื่อวานนี้ (2 ส.ค.64) พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ 7 คน ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่อู่ฮั่นพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่นับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากควบคุมการระบาดในช่วงแรกได้สำเร็จ
รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคมณฑลหูเป่ย์ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอู่ฮั่น รวมถึงผู้ติดเชื้อในเมืองจิงโจว และเมืองหวงกังใกล้เคียงตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา
เชื่อมโยงกับเคสที่พบในเมืองหวยอันในมณฑลเจียงซู ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่าการระบาดระลอกใหม่นี้มีต้นตอจากเมืองหนานจิงที่เป็นเมืองเอกของมณฑลเจียงซู โดยเป็นเชื้อสายพันธุ์เดลตาที่น่าจะมาจากเที่ยวบินจากรัสเซีย
นับตั้งแต่นั้นมาหลายเมืองทางตอนใต้ของจีนและบางส่วนทางตอนเหนือรวมถึงปักกิ่งก็รายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. ที่พบผู้ติดเชื้อในหนานจิงครั้งแรก จนถึงเมื่อวานนี้ อยู่ที่ 414 คน
ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลายๆ เมืองของจีนได้สั่งล็อกดาวน์ห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ปิดเส้นทางขนส่งในพื้นที่ และทำการตรวจคัดกรองประชาชนทั้งหมด เพื่อรับมือกับการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายเดือนนี้
ขณะที่ภาพที่เกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่นเมื่อวานนี้ ชาวอู่ฮั่นจำนวนมากพากันออกมาซื้อของกักตุนไว้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่
วันนี้! รพ.รามาธิบดี เปิดให้จองฉีดวัคซีนโควิดแอสตร้าเซเนก้า
ขณะเดียวกัน มีงานวิจัยสองชิ้นที่น่าสนใจเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชิ้นแรกเป็นของทีมนักวิจัยญี่ปุ่นซึ่งทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดาในห้องปฏิบัติการ โดยพบว่า การกลายพันธุ์ 3 จุด ในส่วนโปรตีนหนามของเชื้อสายพันธุ์แลมบ์ดา ช่วยให้เชื้อสายพันธุ์นี้ต้านทานการทำงานของสารภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีที่กระตุ้นโดยวัคซีนได้ ขณะที่การกลายพันธุ์อีก 2 จุด ทำให้เชื้อสายพันธุ์แลมบ์ดามีความสามารถในการแพร่ระบาดสูง
ทั้งนี้ นักวิจัยเตือนว่าการที่องค์การอนามัยโลกยังระบุให้เชื้อสายพันธุ์แลมบ์ดาเป็น “สายพันธุ์ที่ควรสนใจ” แทนที่จะเป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” อาจทำให้ผู็คนไม่ตระหนักถึงอันตรายที่ร้ายแรงได้ แม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าเชื้อสายพันธุ์นี้จะอันตรายกว่าเชื้อสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดอยู่ในหลาย ๆ ประเทศหรือไม่
สำหรับเชื้อสายพันธุ์แลมบ์ด้านี้พบครั้งแรกในเปรู และกำลังแพร่ระบาดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งเป็นของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยร็อกกีเฟลเลอร์ในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ พบว่าในกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 และได้รับวัคซีน mRNA ครบสองเข็ม สารภูมิคุ้มกันที่กระตุ้นโดยวัคซีน mRNA เพิ่มจำนวนขึ้นระหว่างเข็มแรกและเข็มที่สอง แต่ห้าเดือนหลังจากนั้น สารภูมิคุ้มกันที่กระตุ้นโดยวัคซีนแม้จะมีจำนวนเท่าเดิม แต่กลับมีพัฒนาการที่วัดได้น้อยมากในความสามารถที่จะต่อต้านเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ดังนั้น การฉีดวัคซีนตัวเดียวกันเข็มที่สามจึงมีแนวโน้มที่จะทำให้ระดับสารภูมิคุ้มกันสูงขึ้น แต่ประสิทธิภาพต้านเชื้อสายพันธุ์ต่างๆ ลดลง
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สารภูมิคุ้มกันของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะพัฒนาในช่วงปีแรก และกลับมีศักยภาพและสามารถต้านทานเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้มากกว่า
Photo : AFP
เปิดจอง "ซิโนฟาร์ม" บุคคลธรรมดา รอบสอง 75,000 ราย 4 ส.ค. นี้ พร้อมเงื่อนไขลงทะเบียน