นาย ซิริล รามาโฟซา (Cyril Ramaphosa) ผู้นำแอฟริกาใต้ แถลงแสดงความผิดหวังเป็นอย่างมาก กับการกระทำที่ไม่เป็นธรรมของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศร่ำรวย พร้อมเรียกร้องให้มีการยกเลิกมาตรการห้ามผู้คนจากประเทศในแถบแอฟริกาใต้เดินทางเข้าไปยังประเทศต่างๆ เป็นการด่วน ซึ่งเบื้องต้น รัฐบาลแอฟริกาใต้ จะยังไม่พิจารณากลับไปใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมโควิดระลอก 4 ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโควิด "โอไมครอน" แต่อาจกำหนดข้อบังคับในการฉีดวัคซีน ก่อนเข้าสถานที่ต่าง ๆ
โควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" (Omicron) ลามประเทศไหนแล้วบ้าง
“หมอยง” สรุป 10 ประเด็น โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอน (Omicron)
ขึ้นแบล็คลิสต์ 8 ประเทศเสี่ยง ห้ามเดินทางเข้าไทย หวั่นโควิด “โอไมครอน” เล็ดลอด
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศของแอฟริกาใต้ ก็ออกแถลงการณ์แสดงความไม่พอใจอย่างมากที่นานาชาติพร้อมใจกันออกมาตรการจำกัดการเดินทางจากประเทศแอฟริกาใต้ ทั้งที่แอฟริกาใต้ช่วยค้นพบเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่
แถลงการณ์ระบุว่า ความล้ำหน้าในการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส จนนำไปสู่การค้นพบเชื้อกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ควรได้รับการชื่นชม มากกว่าการลงโทษ
ด้านเจ้าหน้าที่จากสหภาพแอฟริกา ระบุว่า การกักตุนวัคซีนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีน คือ ต้นเหตุที่ทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์
ขณะนี้ ทั่วโลกจับตาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่อย่างใกล้ชิด เฉพาะที่แอฟริกาใต้เอง พบผู้ติดเชื้อดังกล่าวแล้วอย่างน้อย 109 คน และมีเคสต้องสงสัยอีกเกือบ 1 พันคน เพื่อนบ้านอย่างบอตสวานา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 19 คน
ด้านฝั่งยุโรป ก็ยืนยันพบเชื้อดังกล่าวเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ นำโดย เนเธอร์แลนด์ 13 คน อังกฤษและเยอรมนี ประเทศละ 3 คน เดนมาร์ก 2 คน และอิตาลี ออสเตรีย เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก ประเทศละ 1 คน นอกจากนี้ ยังมีออสเตรเลีย ที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 3 คน แคนาดา พบแล้ว 2 คน
ขณะที่เมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์อัปเดตเกี่ยวกับเชื้อโควิด "โอไมครอน" โดยยืนยันว่า การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ตรวจโควิด-19 ยังสามารถตรวจหาเชื้อ "โอไมครอน" ได้ แต่ขณะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เชื้อสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่ายกว่า หรือทำให้เกิดอาการป่วยที่รุนแรงกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ หรือไม่ โดยหลักฐานเบื้องต้นชี้ว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่นๆ มาแล้ว อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน
ด้านแพทย์หญิง แองเจลิก โคเอตซี (Angelique Coetzee) ประธานสมาคมการแพทย์แอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นคนแรก ๆ ที่ส่งสัญญานเตือนเรื่องโควิดกลายพันธุ์ "โอไมครอน" เปิดเผยว่า อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ แตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์เดลต้า เพราะยังคงรับรู้กลิ่นและรสชาติได้ ระดับออกซิเจนในเลือดก็ไม่ได้ลดต่ำมาก อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน
ส่วนเรื่องความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน แพทย์หญิงโคเอตซี ยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่ติดเชื้อ คือ ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
ศบค.เผย 1,007 รายมาจากแอฟริกา ผลตรวจเป็นลบ เร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม สกัด "โอไมครอน"
นายกฯ ขออย่ารีรอวัคซีนทางเลือก ให้มาฉีดฟรี มีเพียงพอ
ล่าสุด มีความคืบหน้าจากฝั่งผู้ผลิตวัคซีน เมื่อนายแพทย์ พอล เบอร์ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการแพทย์ของโมเดอร์นา เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิดสูตรปรับปรุงใหม่ เพื่อรับมือกับเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน น่าจะพร้อมจำหน่ายในปริมาณมากได้อย่างเร็วที่สุดภายในต้นปีหน้า โดยภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ คาดว่าจะมีข้อมูลว่า วัคซีนที่มีในปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือไม่