อย่าตระหนก ข่าวฝรั่งเศสพบโควิด-19 “B.1.640.2” กลายพันธุ์ 46 ตำแหน่ง

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รวมข้อมูลโควิด-19 “B.1.640.2” หลังมีข่าวพบในคลัสเตอร์ฝรั่งเศสจนเกิดกระแสความกังวล

เมื่อช่วงปีใหม่ 2022 ที่ผ่านมา มีการพูดถึงการค้นพบโควิด-19 สายพันธุ์ “B.1.640.2” จากคลัสเตอร์หนึ่งในฝรั่งเศส โดยมีข้อมูลว่า เจ้าโควิด-19 สายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ถึง 46 ตำแหน่ง ซึ่งมากพอ ๆ กับ “โอมิครอน” ที่กำลังระบาดทั่วโลกและกลายเป็นสายพันธุ์หลักในหลายประเทศในขณะนี้ จนเกิดความวิตกกังวลว่านี่จะกลายเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่น่ากลัวหรือไม่

ไทยพบเคสโควิด-19 “โอมิครอน” มากเป็นอันดับ 15 ของโลก

เจาะข้อมูลการระบาด"โอมิครอน"เมืองพัทยา

เกาหลีใต้ เสียชีวิตแล้ว 2 ราย จากสายพันธุ์โอมิครอน

โดยนักวิทยาศาสตร์จาก IHU Mediterranee Infection พบโควิด-19 สายพันธุ์นี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2021 ในเมืองมาร์แซย์ โดยผู้ติดเชื้อรายแรกเชื่อมโยงกับการเดินทางไปยังประเทศแคเมอรูนในทวีปแอฟริกา

“ธนาธร” ติดเชื้อโควิด-19 เผย ไม่มีอาการ ร่างกายปกติ

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อ B.1.640.2 รายแรก ก็ยังไม่พบการระบาดเป็นวงกว้างในพื้นที่ใด และไม่มีสัญญาณว่า จะสามารถเอาชนะสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังระบาดหนักในฝรั่งเศส ปัจจุบันโอมิครอนในฝรั่งเศสมีสัดส่วนการระบาดคิดเป็น 60%

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เองยังไม่ได้ออกมาแสดงท่าทีหรือมีความเคลื่อนไหวใดเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์นี้

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เชื้อสายพันธุ์นี้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับสายพันธุ์ B.1.640 ซึ่งพบในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในเดือนกันยายน 2021 ในบางจุด เช่น มีการกลายพันธุ์ตำแหน่ง E484K ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เชื้อดื้อต่อวัคซีนมากขึ้น ยังมีการกลายพันธุ์ N501Y ซึ่งพบในสายพันธุ์อัลฟา ที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าสามารถทำให้แพร่เชื้อได้มากขึ้น เป็นต้น

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า “การค้นพบนี้แสดงให้เห็นอีกครั้งถึงความคาดเดาไม่ได้ของการกลายพันธุ์ของโควิด-19”

ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.640.2 ไว้ว่า “ไวรัสสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 46 ตำแหน่ง และมีส่วนที่ขาดหายไปของเบส (deletion) 37 ตำแหน่ง ส่งผลให้มีกรดอะมิโนเปลี่ยนไปจากเดิม 30 ตำแหน่ง และ หายไป 12 ตำแหน่ง”

อาจารย์ระบุอีกว่า “ถ้าพิจารณาเฉพาะกรดอะมิโนบนโปรตีนหนาม พบว่ามี 14 ตำแหน่งที่เปลี่ยน และ 9 ตำแหน่งที่หายไป โดยตำแหน่งสำคัญที่พบรวมไปถึง N501Y และ E484K ด้วย การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จากตำแหน่งที่กลายพันธุ์ไปคาดว่าจะมีผลเรื่องการหนีภูมิคุ้มกันได้คล้ายๆกับโอมิครอน”

ลาวเปิดตัวยาต้านโควิด-19 "โมลาโคเวียร์" กระปุกละ 4 แสนกีบ

อย่างไรก็ตาม ดร.อนันต์บอกว่า “ไวรัสสายพันธุ์นี้คาดว่ามีแนวโน้มจะถูกกลืนด้วยโอมิครอน เพราะข้อมูลในฝรั่งเศสพบไวรัสสายพันธุ์นี้มาเกือบ 2 เดือนแล้ว ยังไม่ได้มีการพบการระบาดในประเทศมากขึ้นต่อจากคลัสเตอร์แรกที่พบ ซึ่งเมื่อเจอโอมิครอนที่วิ่งไวกว่า หนีภูมิอาจจะดีกว่า โอกาสของการกระจายตัวของไวรัสสายพันธุ์นี้ดูเหมือนน้อยลงไปด้วยครับ ... ยังไงก็ดี ข่าวนี้ทำให้เราเห็นว่าไวรัสแปลก ๆ พร้อมแสดงตัวได้ตลอดเวลาครับ”

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้กล่าวในการแถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยวันนี้ (4 ม.ค.) ว่า มีหลายคนพูดถึงไวรัสโควิด-19 ตัวใหม่ในฝรั่งเศสว่ามาแทนที่โอมิครอนหรือไม่

นพ.ศุภกิจให้ข้อมูลว่า เดิมโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.640 เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การจับตา (VUM) ตามการจัดระดับของ WHO

“ตัว B.1.640 เดิมออกมาไม่มีอะไร แต่วันนี้พบว่า มีการแตกตัวหรือกลายพันธุ์ออกไป กลายเป็น 2 พันธุ์ย่อย คือ .1 คือของเดิม เกิดเมื่อหลายเดือนที่แล้ว ส่วน .2 มีคนพูดกัน เจอในฝรั่งเศส เจอประมาณ 400 ราย กลายพันธุ์ทั้งหนาม เจอการกลายพันธุ์ตำแหน่ง N501Y และ E484K ซึ่งมีความสำคัญ เพราะเชื่อว่าทำให้ไวรัสหลบวัคซีน แต่เรียนพี่น้องประชาชน อย่าตกใจ นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก มันเจอได้หลายตัว ในเบตา แกมมา โอมิครอน ก็มี 2 ตัวนี้ ไม่ได้แปลกประหลาด” นพ.ศุภกิจกล่าว และเน้นย้ำว่าระบบการเฝ้าระวังการระบาดของไทยจะจับตาดูสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม

ภาพจาก AFP

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ