ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังคงแสดงท่าทีไม่ส่งทหารเข้าสู่สมรภูมิยูเครน โดยระบุว่า แนวคิดที่เรียกร้องให้สหรัฐฯเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน จะนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 คำเตือนดังกล่าวของประธานาธิบดี โจ ไบเดน มีขึ้นหลังจากเกิดกระแสเรียกร้องในสหรัฐฯ ให้ส่งกำลังทหารเข้าไปในยูเครน หรือสนับสนุนการปิดน่านฟ้ายูเครนเพื่อคุ้มครองชีวิตพลเรือนจากการโจมตีของกองทัrรัสเซีย
ปูตินอนุมัติ รับอาสาสมัคร 16,000 คนมาช่วยโดเนตสค์-ลูฮันสค์สู้กับยูเครน
รัสเซียเตรียมยึดทรัพย์สินของแบรนด์ตะวันตกที่หยุดกิจการในรัสเซีย
โดย ไบเดน ย้ำว่า สหรัฐฯ พยายามจะสร้างหลักประกันว่ายูเครนมีอาวุธที่สามารถปกป้องตนเองจากการุกรานของรัสเซียได้ และจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน รวมทั้งอาหารและเปิดรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน แต่แต่การส่งยุทโธปกรณ์เข้าไปในยูเครนจะก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3
ความคิดที่ว่าเราต้องส่งยุทโธปกรณ์ และต้องมีเครื่องบิน รถถัง รถไฟ เข้าไปประจำการพร้อมกับนักบิน และกำลังพลอเมริกันต้องทำความเข้าใจและอย่าหลอกตัวเอง เพราะไม่ว่าจะเรียกอย่างไร การทำแบบนั้นเรียกว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 ให้พูดตรง ๆ ก็เหมือนกับสำนวนโบราณที่สอนว่าอย่าหลอกคนที่รู้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ไบเดน ยืนยันว่า แม้จะไม่ร่วมรบในสงครามยูเครน แต่สหรัฐฯ จะปกป้องผืนแผ่นดินของชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโตทุกตารางนิ้ว
นอกจากนี้ ไบเดน ยังได้ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรชุดใหม่ต่อรัสเซีย สั่งห้ามนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารทะเล และเพชร รวมถึงจะคว่ำบาตรผู้ทรงอิทธิพลชาวรัสเซียเพิ่มเติม ตลอดจนห้ามการส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยไปยังรัสเซีย พร้อมระบุด้วยว่า กลุ่มอุตสาหกรรมจี 7 (G7) เตรียมเพิกถอนสถานะพิเศษทางการค้าของรัสเซีย
เช่นเดียวกับ สหภาพยุโรปหรืออียูที่ได้เปิดเผยมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ ซึ่งมีทั้งการระงับให้สิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจการค้า การจำกัดการใช้เงินคริปโท การห้ามส่งออกสินค้าหรูไปยังรัสเซีย โดยมีเผ้าหมายเพื่อสร้างผลกระทบต่อกลุ่มชนชั้นนำในรัสเซีย รวมทั้งจะห้ามนำเข้าเหล็ก และโลหะจากรัสเซีย โดยมาตรการเหล่านี้นับเป็นการคว่ำบาตรรอบที่ 4 ซึ่งอียูนำมาใช้กับรัสเซียนับตั้งแต่เปิดฉากบุกยูเครนและการที่อียูระงับสถานะพิเศษทางการค้า ทำให้รัสเซียมีสถานะเทียบเท่ากับ อิหร่าน หรือ เกาหลีเหนือ
มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่นี้ยังรวมถึงการลงทุนโครงการใหม่ๆ การถ่ยทอดเทคโนโลยี บริการทางการเงิน การสำรจและผลิตพลังงานในรัสเซีย เพื่อหวังผลสร้างความเสียหายให้กับ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน
สำหรับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ของอียู มีขึ้นหลังจากที่ ปูติน ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดี ว่าจำเป็นต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับบรรดาบริษัทต่างชาติที่ตั้งใจพักดำเนินการหรือปิดกิจการ โดยรัฐบาลเตรียมจะบังคับใช้แนวทางการบริหารจัดการจากภายนอกเพื่อเข้า ยึดกิจการ เหล่านี้ ก่อนส่งผ่านไปให้กับกลุ่มบริษัทเอกชนที่มีความพร้อมทำงานในรัสเซีย พร้อมย้ำว่า รัสเซียจะหาวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อเข้ายึดครองกิจการบริษัทเหล่านี้
ท่าทีดังกล่าวของปูติน เป็นการแสดงให้กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลรัสเซียเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรที่รัฐบาลแก้ไขไม่ได้ โดยเขายอมรับว่าแม้รัสเซียจะเริ่มได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกบ้างแล้ว แต่รัสเซียก็จะสามารถก้าวผ่านไปได้เหมือนเช่นการคว่ำบาตรในหลายๆ ครั้งในอดีต และท้ายที่สุดรัสเซียจะสามารถฟื้นตัวกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม เป็นอิสระมากขึ้น พึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และมีอธิปไตยมากขึ้นด้วย
ก่อนหน้านี้ พรรครัฐบาลรัสเซีย ได้ยื่นเสนอมาตรการตอบโต้อย่างแข็งกร้าวต่อบริษัทต่างชาติที่ร่วมวงกับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกในการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยหากบริษัทต่างชาติเหล่านั้นปิดร้านหรือถอนกิจการออกไป รัสเซียจะยึดสินทรัพย์และโรงงานของบรรดาบริษัทดังกล่าวให้ตกเป็นของรัฐ
โดย พรรคยูไนเต็ด รัสเซีย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เสนอให้ยึดโรงงานของชาวต่างชาติซึ่งได้ประกาศปิดการดำเนินงานในรัสเซีย ตามมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตก เนื่องจากการปิดการดำเนินงานดังกล่าว ถือเป็นการทำสงครามต่อประชาชนชาวรัสเซีย
ขณะที่สหประชาชาติแถลงเมื่อวานนี้ ว่า ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับโครงการใช้อาวุธชีวภาพ ของฝ่ายยูเครนตามที่รัสเซียกล่าวหา โดยอิซูมิ นากามิตสุ (Izumi Nakamitsu) ผู้แทนระดับสูงด้านการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ ยืนยันต่อคณะมนตรีความมั่นคงว่าสหประชาชาติไม่ได้รับข้อมูลใดๆเกี่ยวกับโครงการอาวุธชีวภาพ ในยูเครน
โดยเมื่อวานนี้รัสเซียได้เรียกประชุมชาติสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อตอกย้ำถึงข้ออ้างที่ระบุว่ายูเครนมีห้องปฏิบัติการสำหรับใช้ในสงครามอาวุธชีวภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ทั้งที่เป็นข้อห้ามในกฎหมายระหว่างประเทศ
ขณะที่ ลินดา โทมัส กรีนฟิลด์ โทมัส เอกอัตราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติระบุว่าสหรัฐมีความกังวลว่ารัสเซียกำลังใช้อำนาจในการเรียกประชุมสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จ สำหรับใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงครามด้วยอาวุธชีวภาพ หรือ เคมีในยูเครน โดยกรีนฟิลด์ กล่าวว่ารัสเซียมีประวัติใช้ข้อกล่าวหาเท็จกับหลายประเทศ ที่รัสเซียใช้กำลังคุกคาม
ส่วน วาซิลี เนเบนเซีย เอกอัคราชทูตรัสเซีย ประจำสหประชาชาติตอบโต้ว่าสหรัฐฯก็เคยใช้ข้ออ้างลักษณะเดียวกันในปี 2003 โดย โคลิน พาเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯแจ้งต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงว่าอิรักครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการส่งกำลังเข้าในประเทศดังกล่าวก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการพิสูจน์ว่าข้ออ้างของสหรัฐไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ด้าน ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ยืนยันเมื่อวานนี้ว่า ไม่มีการพัฒนาอาวุธเคมี รวมถึงอาวุธทำายล้างสูงใดๆ ในยูเครน และข้อกล่าวหาของรัฐบาลรัสเซียที่บอกว่ายูเครนกำลังพัฒนาอาวุธชีวภาพ และมีแผนโจมตีด้วยอาวุธเคมีนั้น ทำให้ตนเอง "รู้สึกกังวลอย่างมาก"