โลกกำลังเผชิญ “ความหิวโหย” ครั้งประวัติศาสตร์ กับ วิกฤตขาดแคลนอาหาร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




องค์กรระดับโลกสรุปในทิศทางเดียวกันว่า โลกจะเผชิญกับวิกฤตความหิวโหยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากสงครามความขัดแย้ง (รัสเซีย-ยูเครน) ซ้ำเติมโรคระบาดโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ติดตามผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ได้ที่นี่ >>> คลิก <<<

สมาคมผู้ประกอบการโรงสีระหว่างประเทศในยูเรเชีย (International Association of Operative Millers Eurasia - IAOM Eurasia) กล่าวถึงการประชุม ระหว่าง สถาบันระหว่างประเทศทั้งหมด รวมถึงสหประชาชาติ (UN), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), องค์การการค้าโลก (WTO) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

อินโดนีเซียยกเลิกแบนส่งออกน้ำมันปาล์ม หลังราคาลดลง

14 ประเทศ “ระงับส่งออกสินค้าอาหาร” ส่อขาดแคลนทั่วโลก

สรุปในทิศทางเดียวกันว่า โลกจะเผชิญกับวิกฤตความหิวโหยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ภาพ AFP

นายเอเรน กุนฮัน อูลูซอย ประธานสมาคมฯ กล่าวถึงรายงานที่มีการกล่าวในที่ประชุม ระบุว่า ผู้คนจำนาน 811 ล้านคนมีภาวะขาดสารอาหาร และ 276 ล้านคน กำลังรอคอยการบริจาคอาหาร

“ข้าวสาลีทุกชิ้นล้วนมีค่า” เราต้องดำเนินการเพื่อลดความหิวโหย และป้องกันการสูญเสีย เราต้องใช้ความพยายามในการปกป้องวัตถุดิบทุกกรัม

หากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากยูเครนไม่ได้รับการแก้ไข ผู้คนอีก 47 ล้านคนจะเผชิญกับภัยคุกคามนี้อย่างยาวนาน เพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลกอย่างยูเครนต้องระงับการส่งออก อ้างอิงจากรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐ ปริมาณข้าวสาลีของโลกจะลดลง 12 ล้านตัน  ขณะเดียวกัน ยูเครนเพิ่มสต๊อกข้าวสาลีภายในประเทศจาก 1 ล้านตันเป็น 6 ล้านตันในปีนี้ ขณะที่อินเดียก็เริ่มระงับการส่งออก

ทั้งการระบาดของโควิด-19 สงคราม ปัญหาสภาพอากาศ ทำให้โลกใบนี้อยู่ในยุคที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนคือ “ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์”

ภาพ AFP

องค์การสหประชาชาติ (UN)  ย้ำเตือน การรุกรานยูเครนจากรัสเซียจะก่อให้เกิดวิกฤตอาหารโลกยืดเยื้อนานหลายปี

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส  เลขาธิการ UN กล่าวว่า สงครามได้ทำให้ความไม่มั่นคงด้านอาหารในประเทศยากจนแย่ลง เนื่องจากราคาที่สูงขึ้น บางประเทศอาจเผชิญความอดอยากในระยะยาว หากการส่งออกของยูเครนไม่ฟื้นคืนสู่ระดับก่อนสงคราม

ความขัดแย้งส่งผลทำให้การส่งออกอาหารจากยูเครนหยุดชะงัก เช่น ธัญพืชอย่างข้าวโพด ข้าวสาลี ส่งผลทำให้ราคาของอาหารโลกสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 30%

ภัยดังกล่าวจะคุกคามผู้คนหลายสิบล้านคนให้ประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหาร ตามมาด้วยภาวะทุพโภชนาการ ความหิวโหย และความอดยาก ทั้งหมดล้วนเป็นผลกระทบที่ซ้ำเติมจากเดิมที่โลกเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการระบาดใหญ่ของโควิด-19

“โลกของเรามีอาหารเพียงพอหากเราร่วมมือกัน แต่หากไม่แก้ปัญหาในวันนี้ เราจะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหารทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อันโตนิโอ กูเตอร์เรส  เลขาธิการ UN

 

 

 

 

 

 

ขณะที่ความเห็นจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องอุดหนุนค่าอาหารและพลังงานสำหรับประเทศสมาชิกยากจน เพราะผู้คนทั่วโลกกำลังดิ้นรนกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งการช่วยเหลืออย่างตรงเป้าหมายคือการให้เงินอุดหนุนโดยตรงกับประชาชน ซึ่ง 2 อันดับความสำคัญที่รัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือโดยตรง คือ

  • การสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพกับคนที่รายได้น้อยท่ามกลางการดิ้นรนกับราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มสูง
  • สองคือ เข้าช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากสงครามความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

ด้านธนาคารโลก จัดสรรงบประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยแก้ไขวิกฤตการขาดแคลนอาหารทั่วโลก ทั้งด้านเกษตรกรรม โภชนาการ การคุ้มครองทางสังคม น้ำ ระบบชลประทาน หรือความมั่นคงทางอาหารช่วง 15 เดือนข้างหน้า ไปจนถึงการส่งเสริมการผลิตอาหาร ปุ๋ย  และครัวเรือนที่เปราะบาง

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ