เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลรัสเซียได้ส่งหนังสือถึงสหประชาชาติชี้แจงรายละเอียดข้อกล่าวหาที่อ้างว่ารัฐบาลยูเครนเตรียมใช้ “เดอร์ตี้ บอมบ์” ( Dirty Bomb) หรือระเบิดบรรจุสารกัมมันตรังสีก่อเหตุร้ายในดิแดนของตัวเองเพื่อทำลายภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของรัสเซีย
ขณะที่เมื่อวานนี้ (วันอังคาร) รัสเซียได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพูดคุยหระหว่างการประชุมแบบปิดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
"วรวุฒิ" แข้งชลบุรี ยังสะอื้นเสียใจเหตุเมาแล้วขับ ขอเลิกเหล้าตลอดชีวิต
ชลบุรี เอฟซี ออกแถลงกรณีนักเตะในทีมชนคนเสียชีวิต
นาย โพลียาน สะกี้ ระบุว่า หลักฐานที่ใช้ในการยืนยันข้อกล่าวหาดังกล่าวอยู่ในข่าวกรองที่ส่งให้กับชาติตะวันตกแล้ว ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ถูดจัดให้เป็นความลับ
อย่างไรก็ตาม ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และ สหรัฐฯ 3 พันธมิตรหลักของชาติตะวันตก ในฐานะประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงตอบโต้ว่าข้อกล่าวหาของรัสเซียล้วนเป็นข้อมูลเท็จทั้งสิ้น และ ไม่เคยได้รับ หรือ ได้ยินหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมทั้งระบุว่ารัสเซียต้องการใช้ข้อกล่าวหานี้เพื่อยกระดับการโจมตียูเครน
นาย เน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในวันอังคารว่า มีเหตุผลที่น่ากังวลว่ารัสเซียได้ “แสดงให้เห็นรูปแบบของการกล่าวหาฝ่ายอื่นในสิ่งที่กำลังวางแผนทำอยู่ในท้ายที่สุด
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA เปิดเผยว่าได้เตรียมส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ 2 แห่งของยูครน ตามที่รัฐบาลยูเครนร้องขอแล้ว ซึ่งโรงงานทั้ง 2 แห่งนี้อยู่ในรายชื่อที่จะเข้าตรวจสอบอยู่แล้ว
โดยราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ยืนยันว่า ยังไม่มีการตรวจพบกิจกรรมหรือวัตถุด้านนิวเคลียร์ในสถานที่ทางนิวเคลียร์ของยูเครนแต่อย่างใด
ส่วนประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ที่ตั้งขอสังเกตุว่าข้อกล่าวหาในประเด็นระเบิดกัมมนัตรังสีแสดงให้เห็นว่ารัสเซียกำลังวางแผนก่อเหตุด้วยอาวุธชนิดนี้เพื่อใส่ร้ายยูเครน
ขณะที่ ดิมิโทร คูเลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในพื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบได้อย่างไม่มีข้อจำกัด พร้อมเรียกร้องให้รัสเซียแสดงความโปร่งใสเช่นเดียวกับที่ยูเครนทำให้เห็นแล้ว
ส่วนสถานการณ์ด้านพลังงานของยูเครนที่กำลังวิกฤตในขณะนี้ ทำให้ ไอรีนา เวเรสชุค : รองนายกรัฐมนตรียูเครนต้องขอร้องประชาชนที่ปัจจุบันลี้ภัยอยู่ในต่างแดนให้รอจนกว่าเข้าฤดูใบไม้ผลิ แล้วค่อยเดินทางกลับมา
โดยวเรสชุค เตือนว่าโครงข่ายพลังงานของประเทศในขณะนี้อาจไม่สามารถรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นได้
หากว่าพวกผู้ลี้ภัยเดินทางกลับจากต่างแดน และสถานการณ์มีแต่จะเลวร้ายลง
นับตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมเป็นต้นมา รัสเซียเปิดฉากโจมตีด้วยขีปนาวุธและโดรนระลอกแล้วระลอกเล่า เล็งเป้าหมายถล่มโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานของยูเครน ซึ่งทางรัฐบาลยุเครนระบุว่าได้ก่อความเสียหายแก่ระบบพลังงานของประเทศไปแล้วประมาณ 40%