กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงเมื่อวานนี้ว่าการปรับเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นนับจากปีนี้ ไปจนถึงปี 2026 จะมีทั้งการปฎิรูประบบบริหาร และ ยกระดับความสามารถในการสู้รบในด้านต่างๆ ทั้งทางทะเล ทางอากาศ และขีปนาวุธ
เซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีการกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่าการสร้างความแข็งแกร่งให้องค์ประกอบเชิงโครงสร้างของเหล่าทัพต่างๆ จะเป็นการสร้างหลักประกันในการปกป้องภัยคุกคามจากประเทศอื่น
มาถึงจุดนี้แล้ว! ทวิตเตอร์นำของในสำนักงานใหญ่ออกมาประมูลขาย
เนปาล พบเหยื่อเครื่องบินตกใกล้ครบ เหลือเพียงผู้สูญหาย อีก 1 คน
เช่นเดียวกับ นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย ที่ระบุว่าการปรับเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องจำเป็นเพราะรัสเซียกำลังเผชิญกับสงครามตัวแทนในยูเครน ที่ชาติตะวันตกได้ส่งอาวุธช่วยเหลือยูเครนมาโดยตลอด
สำหรับกระทรวงทรวงกลาโหมรัสเซีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้สนับสนุนประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพในการบุกเข้ายึดพื้นที่ต่างๆของยูเครน
โดยตลอด 11 เดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่ส่งกำลังทหารเข้าสู่ยูเครนเมื่อเดือน ก.พ. ปีที่แล้วกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ปรับเปลี่ยนนายทหารระดับแกนนำการที่รับผิดชอบการสู้รบหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้ง ประธานเสนาธิการ พลเอก วาเลรี เกราซิมอฟ ให้ทำหน้าที่บัญชาการภารกิจในยูเครน แทนที่ พลเอก เซอร์เก ซูโรวิกิน ซึ่งทำหน้าที่ได้เพียง 3 เดือน
นอกจากนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมรัสเซียยังประกาศว่าภายในปี 2026 จะเพิ่มบุคลากรของกองทัพเป็น 1.5 ล้านคน จากปัจจุบันที่ทีเจ้าหน้าที่ประจำการประมาณ 1 ล้านคน
ส่วนความเคลื่อนไหวการส่งมอบอาวุธให้ยูเครน มีรายงานว่านาย บอริส พิสทอเรียส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่ของเยอรมนี จะบรรจุข้อเรียกร้องส่งรถถัง “เลพเพิร์ด ทู” ให้แก่ยูเครนเป็นวาระการพิจารณาลำดับต้นๆ หลังดำรงตำแหน่ง
โดยไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมนีส่งรถถังช่วยยูเครนต่อสู้กับรัสเซีย หลังจากหลายประเทศพันธมิตรตะวันตกรวมถึงสหราชอาณาจักรประกาศส่งรถถัง “ชาเลนเจอร์ ทู” ไปช่วยยูเครนจำนวน 12 คัน
สำหรับรถถัง “เลพเพิร์ด ทู” ที่ผลิตในเยอรมนี เป็นรถถังที่ใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วทวีปยุโรป ซึ่งหลายประเทศตะวันตกแสดงความพร้อมที่จะส่งรถถังเหล่านี้ให้แก่ยูเครน แต่ติดเงื่อนไขที่กำหนดให้การส่งต่อไปยังประเทศอื่นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งยังมีท่าทีลังเลในเรื่องนี้เนื่องจากกังวลว่าหากทำตามข้อเรียกร้องอาจเป็นการเพิ่มความขัดแย้งกับรัสเซีย
ขณะที่นายกรัฐมนตรี มาร์ค รุตต์ ผู้นำเนเธอร์แลนด์ กล่าวระหว่างการพบกับ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่ทำเนียบขาวว่า จะส่งมอบระบบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ "แพทริออต" ที่ผลิตโดยอเมริกา ให้แก่ยูเครน
เพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอย การโจมตีที่เกิดขึ้นกับอาพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในเมืองดนีโปร ซึ่งขีปนาวุธของรัสเซียส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 คน