คลายปมภาพปริศนา วัตถุหมุนวนบนท้องฟ้าฮาวาย สหรัฐฯ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

หอดูดาวในหมู่เกาะฮาวายประเทศสหรัฐฯ สามารถจับภาพปรากฏการณ์ปริศนา ที่มีลักษณะคล้ายกับวัตถุเคลื่อนตัวในลักษณะหมุนวนอยู่กลางท้องฟ้ายามค่ำคืน

ภาพเหตุการณ์นี้ถูกบันไว้ตั้งแต่คืนวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา บนยอดเขาเมานา เคอาของเกาะบิ๊กในหมู่เกาะฮาวาย  โดยกล้องโทรทรรศน์ซูบารุที่ดำเนินการโดยสำนักหอดูดาวดาราศาสตร์แห่งชาติของญี่ปุ่น ที่ตรวจพบจุดแสงสว่างเล็กๆบนท้องฟ้าที่ค่อยๆใหญ่ขึ้นและเริ่มเคลื่อนตัวในลักษณะหมุนวนคล้ายวังน้ำวน ก่อนจะมีขนาดเล็กลงอีกครั้ง และ หายไปในที่สุด 

หน่วยงานดังกล่าวสันนิษฐานว่าปรากฏการณ์ปริศนาบนท้องฟ้านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรของบริษัทสเปซเอ็กซ์ที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน

ราคาทองวันนี้ พุ่งแรง 200 บาท ทองแท่งแตะ 30,000 บาทต่อบาททองคำ

‘พุทธิพงษ์’ หนุนประกาศสงครามกับยาเสพติด ย้ำภูมิใจไทย กทม.เตรียมลุยสางปัญหาที่ต้นตอ

โดยจากบันทึกของสเปซเอ็กซ์ระบุว่าในช่วงเช้าวันที่ 18 ม.ค.เวลา 07.24 น. บริษัทได้ทำการปล่อยจรวดฟอลคอน ไนน์  เพื่อส่งดาวเทียม GPS ดวงใหม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า

ขณะที่ สำนักข่าววอชิงตันโพสต์ รายงานว่าจรวดฟอลคอนไนน์เคยเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์จจุดแสงสว่างหมุนวนบนท้องฟ้าเช่นนี้มาแล้ว 

อีกปรากฏการณ์บนท้องฟ้าหนึ่งที่น่าสนใจคือการเดินทางกลับมาเยือนโลกอีกครั้งในรอบ 50,000 ปี ของดาวหางสีเขียว ที่มีชื่อว่า “ซี สองพันยี่สิบสอง อีสาม”  (C/2022 E3) หรือ ZTF  โดยในค่ำคืนวันนี้ ( 1 ก.พ) ไปจนถึง วันพรุ่งนี้ คาดว่าจะเป็นช่วงที่ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้โลกมากที่สุด โดยจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ42 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้นด้วยตาเปล่า

สำหรับเทคนิคการหาตำแหน่งดาวหาง  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติของไทย ( Narit) แนะนำว่าให้พยายามสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่มีลักษณะปรากฏเป็นฝ้าจาง ๆ หรือ ดาวดวงหนึ่งที่ไม่ได้คมชัดเช่นดาวดวงอื่น หากใช้กล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาช่วยสังเกตการณ์ จะช่วยยืนยันและเห็นดาวหางได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อบันทึกภาพดาวหางดวงนี้ผ่านกล้องถ่ายภาพด้วยการเปิดหน้ากล้องนาน ๆ จะสามารถสังเกตเห็นหางและสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของดาวหางดวงนี้ได้

สำหรับดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งในรอบใช้เวลาประมาณ 50,000 ปี ค้นพบในช่วงต้นเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ในช่วงแรกวัตถุนี้มีค่าอันดับความสว่างปรากฏ 17.3 ก่อนจะสว่างขึ้นจนนักดาราศาสตร์ทราบว่าเป็นดาวหาง

คอนเทนต์แนะนำ
เลื่อนไปก่อน! ตรวจสอบคุณสมบัติ ลงทะเบียน “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”
“ชูวิทย์” เปิดตัวพยานถูกตำรวจไถเงิน เตรียมแถลงปมดาราไต้หวันบ่ายนี้

 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ