โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน เปิดเผยขณะที่แถลงรายงานสถานการณ์ประจำวันว่า ตอนนี้การสู้รบในแคว้นโดเนตสก์และแคว้นลูฮันสก์รุนแรงมาก และทุกพื้นที่มีแต่การต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย
เมื่อไปดูแผนที่สถานการณ์การสู้รบก็จะพบว่า สิ่งที่ผู้นำยูเครนเปิดเผยนั้นไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด
จากแผนที่จะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายปะทะกันอยู่ถึง 8 จุด ในจำนวนนี้ 7 จุดอยู่บริเวณแคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาส
ยูเครน ลั่นพร้อมรับมือ-โต้กลับ หากรัสเซียคิดล้างแค้น
"ยูเครน" คาด "รัสเซีย" ใกล้เปิดฉากบุกครั้งใหญ่
โดยหนึ่งในแนวรบที่สำคัญคือ แนวรบเมืองมารินกา ซึ่งอยู่ไม่ไกลเมืองวูเกลดาร์ เมืองสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายปะทะกันอย่างหนักในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทหารในเมืองมารินกาต้องต่อสู้อย่างยากลำบากท่ามกลางหิมะที่กำลังตกในช่วงสุดท้ายของฤดูหนาว
ด้านรองผู้บัญชาการกองพลจู่โจมทางอากาศที่ 79 ระบุว่า ยูเครนไม่ควรประมาทรัสเซียและละเลยความจริงที่ว่ารัสเซียยึดพื้นที่ได้จำนวนไม่มาก แต่สามารถควบคุมได้เบ็ดเสร็จ
อย่างไรก็ดี รองผู้บัญชาการรายนี้ยืนยันว่า ทหารในแนวหน้าจะยังยืนหยัดต่อต้านรัสเซียเอาไว้และจะทำเช่นนี้ต่อไป รวมถึงจะรุกคืบขับไล่กองทัพรัสเซียออกไปจากพื้นที่ของยูเครนให้ได้ นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าอาวุธที่ชาติตะวันตกกำลังส่งมาให้ยูเครน จะช่วยพวกเขาได้ในสนามรบ และเชื่อว่าอาวุธของชาติตะวันตกจะมาถึงทันเวลา
ขณะที่การสู้รบในพื้นที่ยังคงเป็นไปอย่างดุเดือด เมื่อวานนี้บรรดาชาติพันธมิตรของยูเครนก็ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหารือเรื่องการมอ
บความช่วยเหลือให้แก่ยูเครนเพิ่มเติมส่วนผลของการประชุมก็เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์คือ ชาติตะวันตกจะยังคงช่วยเหลือยูเครนต่อไป
ขณะเดียวกันก็มีสัญญาณมาจากทางสหรัฐฯ ว่ารัสเซียเตรียมจะโจมตียูเครนรอบใหม่
ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้แถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมกลุ่มประเทศพันธมิตรยูเครนว่า
จากการประเมินร่วมกันโดยชาติพันธมิตรตะวันตกคาดว่ารัสเซียจะเปิดฉากการโจมตียูเครนระลอกใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หรือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมนี้
ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้พูดถึงเรื่องการโจมตีทางอากาศของรัสเซียด้วยเช่นกัน
โดยระบุว่า แม้รัสเซียจะมีเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากในคลัง แต่สหรัฐฯ ยังไม่เห็นสัญญาว่ารัสเซียจะใช้เครื่องบินเหล่านั้นเปิดศึกโจมตียูเครนครั้งใหญ่ในเร็ว ๆ นี้
คำกล่าวของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ มีขึ้นหลังจากที่หลายสำนักข่าวรายงานโดยอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยข่าวกรองชาติตะวันตกที่ระบุว่า รัสเซียกำลังเตรียมรวบรวมเครื่องบินรบในพื้นที่ที่ใกล้กับชายแดนของยูเครน
โดยเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวระบุว่า กองกำลังทางบกของรัสเซียกำลังเพลี่ยงพล้ำ ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่ดีว่าอาจเปลี่ยนยุทธวิถีไปรบทางอากาศแทน
หลังจากที่มีการรายงานข่าวดังกล่าวออกมา ทำให้หลายฝ่ายจับตาไปที่ท่าทีของกองทัพอากาศของรัสเซีย ซึ่งมีความเคลื่อนไหวที่สำคัญออกมาในช่วง 1-2 วันนี้ โดยเมื่อวานนี้ กระทรวงกลาโหมของรัสเซียเผยแพร่ภาพการซ้อมบินเครื่องบินรบทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ตูโปเลฟ ตู-95 (Tu-95) เหนือน่านน้ำของทะเลแบริ่ง
นอกจากนี้ รัสเซียได้เผยแพร่ภาพการซ้อมเครื่องรบตูโปเลฟ ตู-160 (Tu-160) ซึ่งเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียง เหนือน่านน้ำของทะเลแบเร็นตส์ในมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากประเด็นเรื่องโอกาสที่รัสเซียจะใช้เครื่องบินรบรุกรานยูเครนแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจจากการประชุมกลุ่มชาติพันธมิตรยูเครนเมื่อวานนี้ คือเรื่องการส่งเครื่องบินรบให้ยูเครน ซึ่งมีความคืบหน้าออกมาแล้ว
โดยเมื่อวานนี้ ( 14ก.พ.)มาริอุสซ์ บลัชตัก รัฐมนตรีกลาโหมของโปแลนด์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ที่ประชุมนาโตได้นำประเด็นเรื่องการส่งเครื่องบินรบให้ยูเครนมาอภิปราย และหวังว่าผลการอภิปรายจะจบลงที่ ยูเครนได้ในสิ่งที่ต้องการ
อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่าการจะไปถึงจุดนั้นได้อาจต้องกดดันชาติสมาชิกให้มากกว่านี้นอกจากประเด็นการสู้รบที่เกิดขึ้นในยูเครนและการช่วยเหลือจากพันธมิตรชาติตะวันแล้ว
หลายฝ่ายให้ความสนใจไปที่ประเทศเพื่อนบ้านของยูเครนอย่างมอลโดวา หลังจากที่ทางการมอลโดวาออกมาเตือนว่ารัสเซียอาจทำรัฐประหารผู้นำมอลโดวา
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ไมอา ซานดู ประธานาธิบมอลโดวา ได้แถลงว่า รัสเซียพยายามใช้ชาวต่างชาติบางกลุ่ม เช่น รัสเซีย เบลารุส เซอร์เบีย มอนเตรเนโกร สร้างสถานการณ์เพื่อล้มล้างรัฐบาลชุดปัจจุบันของมอลโดวา และดึงมอลโดวาไปทำสงครามสู้กับยูเครน
หลังจากที่มีแถลงการณ์ดังกล่าวออกมา จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ออกมาแแสดงความกังวล พร้อมกับระบุว่าแม้จะยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีปูตินมีความตั้งใจที่จะทำเรื่องนี้แน่นอน
ข่าวเกี่ยวกับการรัฐประหารรัฐบาลมอลโดวาเกิดขึ้นท่ามกลางภาวะความไม่สงบและสุญญากาศทางการเมือง
หลังจากรัฐบาลสายโปรตะวันตกของมอลโดวาที่นำโดยนาตาเลีย กาฟริลิตา นายกรัฐมนตรี ประกาศลาออกจากเมื่อวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับรัสเซียได้
และผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปคือ โดริน เรเชียน อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติมอลโดวา คนใกล้ชิดของประธานาธิบดีซานดู ซึ่งมีจุดยืนโปรตะวันตกเช่นเดียวกัน
หลายฝ่ายมองว่า จุดยืนของรัฐบาลมอลโดวาที่เป็นสายโปรตะวันตก อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีข่าวลือเรื่องความพยายามในการทำรัฐประหารรัฐบาลมอลโดวา อย่างไรก็ดี อีกประเด็นสำคัญที่อาจเป็นเหตุผลของรัสเซียในการพยายามเปลี่ยนรัฐบาล มอลโดวาคือ เพื่อดึงมอลโดวามาทำสงครามกับยูเครน เนื่องจากรัสเซียมีกองกำลังอยู่ในพื้นที่ของมอลโดวาที่ติดกับยูเครน บริเวณแคว้นกาเกาเซียและทรานส์นีสเตรีย
ปัจจุบันที่นี่มีประชากรอาศัยอยู่ราว 470,000 คน ซึ่งมีเชื้อสายรัสเซีย ยูเครน และมอลโดวา และถูกปกครองโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสายโปรโซเวียต-รัสเซียมาตั้งแต่ปี 1992 และตอนนี้มีกองกำลังรักษาสันติภาพของรัสเซียประจำการอยู่ราว 1,500 นาย
ส่วนแคว้นกาเกาเซีย หรือ เขตการปกครองตนเองกาเกาเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศมอลโดวาติดกับแคว้นโอเดสซาของยูเครน มีพื้นที่ราว 1,832 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 160,000 คน
เมื่อดูจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว หลายฝ่ายประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะใช้กองกำลังของตนเองในแคว้นทรานส์นีสเตรียและกาเกาเซีย เข้ารุกรานแคว้นโอเดสซาและแคว้นมิโคลายิฟของยูเครน หากทำรัฐประหารรัฐบาลมอลโดวาสำเร็จ
อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีสัญญาณว่ารัสเซียอาจแทรกแซงกิจการภายในของมอลโดวา
เพราะย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนปีที่แล้ว เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเคยให้สัมภาษณ์ว่า รัสเซียมีความพร้อมที่จะทำ “ทุกทาง” เพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของคนที่พูดภาษารัสเซียทั้งที่อยู่ในแคว้นทรานส์นีสเตรีย และกาเกาเซีย