ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ และทำให้ผู้คนล้มป่วยหลายสิบล้านคนในแต่ละปี โดยไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นในหลายสิบประเทศ แต่ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ ขณะที่วัคซีน 2 ตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้ว ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติทั่วโลก
สองปีที่แล้ว นักวิจัยได้นำเสนองานวิจัยที่แสดงว่า สารประกอบตัวหนึ่งอาจยับยั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกไม่ให้เพิ่มจำนวนได้ ในการทดลองกับเซลล์ที่เพาะเลี้ยง และในหนู โดยป้องกันไม่ให้โปรตีนสองตัวมีปฏิสัมพันธ์กัน
ล่าสุด ทีมนักวิจัยได้ปรับปรุงสารประกอบดังกล่าว และทดสอบในหนูและลิง โดยผลลัพธ์ออกมาน่าพอใจมากๆ
นายมาร์นิกซ์ ฟาน ลูก (Marnix Van Loock) หัวหน้าฝ่ายโรคอุบัติใหม่ประจำบริษัทแจนเซน ฟาร์มาซูติคัล ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ระบุว่า ในการทดลองกับลิงวอก
สิ้น คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี หญิงแกร่งแห่งไทยเบฟฯ และ ทีซีซี กรุ๊ป
เลือกตั้ง 2566 : “บิ๊กบี้” ยันปล่อยฟรีโหวต ไปสั่งใครกาบัตรไม่ได้ ปัดตอบเรื่อง “ประยุทธ์” ไปต่อ
สารประกอบที่ตั้งชื่อว่า JNJ-1802 ในปริมาณโดสที่สูง สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ ขณะที่ในกลุ่มควบคุม ตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 หลังการติดเชื้อ
ในลิง สารประกอบนี้ถูกทดสอบกับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกที่พบมากที่สุด 2 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 4 สายพันธุ์ และเป็นการทดสอบคุณสมบัติในการป้องกันเท่านั้น
ส่วนในการทดลองกับหนู เป็นการทดสอบทั้งการป้องกันและรักษา กับเชื้อไข้เลือดทั้ง 4 สายพันธุ์ ซึ่งได้ผลสำเร็จเช่นกัน
เชื้อไวรัสไข้เลือดออกสามารถทำให้เกิดอาการคล้ายไข้รุนแรง และบางครั้งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต และเนื่องจากเชื้อไวรัสไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน การติดเชื้อสายพันธุ์หนึ่งแล้วไม่ได้ช่วยป้องกันสายพันธุ์อื่น ขณะที่การเป็นไข้เลือดออกครั้งที่สองมักจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
นักวิจัยเตือนว่า สภาพอากาศที่ร้อนและมีฝนตกมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะทำให้เชื้อไวรัสไข้เลือดออกระบาดได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวไปว่า ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสสำหรับไข้เลือดออกโดยเฉพาะ จึงเน้นความพยายามไปที่การลดการแพร่ระบาด ซึ่งรวมถึงการทำให้ยุงที่เป็นพาหะติดเชื้อแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติต้านโรคไข้เลือดออก
หนึ่งในวัคซีนสำหรับโรคไข้เลือดออก ที่มีชื่อว่า เดงวาเซีย (Dengvaxia) ได้รับอนุมัติให้ใช้ในบางประเทศเท่านั้น และใช้ได้ผลกับสายพันธุ์เดียว ส่วนวัคซีนอีกตัวที่ชื่อว่า คิวเดงกา (Qdenga) ได้รับอนุมัติให้ใช้แล้วในสหภาพยุโรป อังกฤษ และอินโดนีเซีย