พบ “ฉลามผีสายพันธุ์ใหม่” ในส่วนลึกของอันดามัน นอกชายฝั่งประเทศไทย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นักวิทย์พบ “ปลาไคมีรา” หรือ “ฉลามผี” สายพันธุ์ใหม่ บริเวณนอกชายฝั่งประเทศไทย มีหัวขนาดใหญ่ ตาโตสีเหลือบรุ้ง ครีบคล้ายขนนก

นักวิทยาศาสตร์รายงานการค้นพบ “ปลาไคมีรา” (Chimaera) หรือ “ฉลามผี” สายพันธุ์ไม่เคยเห็นมาก่อน ที่น่าตื่นเต้นคือ พบที่ส่วนลึกของทะเลอันดามัน นอกชายฝั่งประเทศไทยนี้เอง

ฉลามผีที่เพิ่งถูกค้นพบนี้เป็นปลากระดูกอ่อน มีหัวขนาดใหญ่ ดวงตาขนาดยักษ์สีเหลือบรุ้ง และครีบลักษณะคล้ายขนนก ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “ไคมีรา สุภาเพ” (Chimaera supapae) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานปลา

คอนเทนต์แนะนำ
นักโบราณคดีพบ “ลิปสติกโบราณ” อายุเกือบ 4,000 ปี
80 ปีมีครั้ง “โนวา” ในกลุ่มดาวมงกุฎเหนือ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากบนโลก
ทึ่ง! เด็ก 13 ปีทดลองสร้างอาวุธในตำนาน “ลำแสงมรณะของอาร์คิมิดีส”

พบฉลามผีสายพันธุ์ใหม่ใต้ทะเลอันดามัน Raffles Bulletin of Zoology/Chimaera supapae (Holocephali: Chimaeriformes: Chimaeridae), a new species of chimaera from the Andaman Sea of Thailand
ฉลามผีสายพันธุ์ใหม่ Chimaera supapae

ส่วนชื่อไคมีรามาจาก สัตว์ในเทวตำนานกรีกที่เกิดจากการรวมกันของสัตว์ร้าย 3 ชนิด คือ มีหัวเป็นสิงโต ลำตัวเป็นแพะ และข้างท้ายเป็นงูหรือมังกร ทำให้คำว่าไคมีรามักถูกนำมาใช้เรียกสัตว์ที่มีลักษณะประหลาดหรือน่ากลัว

ฉลามผีถือเป็นปลากระดูกอ่อนในลำดับเดียวกับปลาที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน Chimaeriformes ปลาโบราณเหล่านี้เป็นญาติห่าง ๆ ของฉลามและปลากระเบน

เดวิด เอเบิร์ต ผู้อำนวยการโครงการของศูนย์วิจัยฉลามแปซิฟิกที่มหาวิทยาลัยรัฐซานโฮเซ ในแคลิฟอร์เนีย บอกว่า “ฉลามผีนั้นหาได้ยากในภูมิภาคนี้ของโลก”

ฉลามผีอาศัยอยู่ตามไหล่ทวีปและสันเขามหาสมุทรใต้ทะเลลึก พบได้ที่ระดับความลึกมากกว่า 500 เมตร มักแฝงตัวอยู่ในน่านน้ำที่มืดมิด ล่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ในก้นทะเล เช่น สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หอย และหนอน เป็นอาหาร

เอเบิร์ตกล่าวว่า “ฉลามผีในโลกนี้มีเพียง 53 สายพันธุ์ สายพันธุ์ล่าสุดนี้คิดเป็นสายพันธุ์ที่ 54” โดยบางสายพันธุ์สามารถโตได้ยาวถึง 2 เมตร

สำหรับฉลามผีสายพันธุ์ใหม่นี้ ถูกค้นพบระหว่างการสำรวจเมื่อปี 2018 เป็นตัวอย่างฉลามผีตัวผู้ จับได้ในทะเลอันดามันที่ระดับความลึก 772-775 เมตร

นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างเนื่องจากหัวที่ใหญ่โต จมูกสั้น และดวงตารูปไข่ขนาดใหญ่ ที่คิดเป็น 32% ของความยาวหัวทั้งหมด ไม่เหมือนฉลามผีสายพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยพบ

เอเบิร์ตตั้งข้อสังเกตว่า ครีบที่เหมือนขนนกของสัตว์ชนิดนี้อาจเกี่ยวข้องกับ “ความสามารถในการเคลื่อนตัวบนพื้นหินที่มีความโล่งสูง” ส่วนดวงตาขนาดใหญ่สีเขียวเหลือบรุ้งของมันคาดว่าช่วยให้มันมองเห็นได้ในน้ำทะเลลึกที่มืดสนิท ผิวสีน้ำตาลเข้มไม่มีเส้นหรือลวดลายที่เห็นได้ชัดเจน และมีครีบหลังยาวถึงส่วนหัว

เอเบิร์ตบอกว่า “ตามวิวัฒนาการแล้ว ฉลามผีเหล่านี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ปลาที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีเชื้อสายย้อนกลับไป 300-400 ล้านปี ... การค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ๆ นี้บอกเราว่า เรารู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเล และยังมีอีกมากที่เราต้องสำรวจ”

 

เรียบเรียงจาก Live Science / Raffles Bulletin of Zoology

สุดอาลัย “เมฆ วินัย” เสียชีวิต ปิดตำนานพระเอกร้อยล้าน

ถ่ายทอดสด เกาหลีใต้ พบ ทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก

รวบ เจ้าของแบรนด์ขนมกล้วยชื่อดัง บุกรุก-ข่มขืน เหยื่อคิดสั้นกระโดดตึก 4 ชั้นสาหัส

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ