กัมพูชา เริ่มขุดคลองเชื่อมแม่น้ำโขง-ทะเล ใช้ทุนจีน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กัมพูชาทำพิธีเปิดโครงการขุดคลอง มูลค่ากว่า 61,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมเส้นทางน้ำจากแม่น้ำโขง ออกไปสู่ทะเล โดยใช้เงินทุนจากจีน

วานนี้ (5 ส.ค.) ฮุน มาเน็ต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการขุดคลองฟูนัน-เตโช ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัทก่อสร้างจีน ที่มีรัฐบาลปักกิ่งเป็นเจ้าของกับกัมพูชา เพื่อสร้างเส้นทางน้ำสายใหม่เชื่อมชายฝั่งอ่าวไทยทางตอนใต้ของกัมพูชา กับส่วนของแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านตอนกลางของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้กัมพูชาลดการพึ่งพาท่าเรือของเวียดนามลงถึง 70%

คอนเทนต์แนะนำ
สหรัฐฯ เตรียมมอบเงินช่วยเหลือทางทหารฟิลิปปินส์ 1.8 หมื่นล้านบาท
พบโมเลกุลน้ำรูปแบบที่ไม่เคยพบ ใน “ดินดวงจันทร์” จากยานฉางเอ๋อ-5

คลองฟูนัน-เตโช รายการทันโลกเดลี่
แม่น้ำโขง

เมกะโปรเจกต์ดังกล่าวซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 61,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าน่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2028 ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง และน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและเวียดนามตึงเครียดขึ้น

เช็กโปรแกรมกีฬาโอลิมปิก 2024 เวลาแข่งขัน Olympic 2024 วันที่ 6 ส.ค.67

เปิดประวัติ "บี" จันทร์แจ่ม นักมวยสากลหญิงไทย ในศึกปารีสเกมส์ 2024

ผ้าคลุมรถกันความร้อน และ 4 ไอเทมที่ช่วยทำให้รถดูสวยใหม่ตลอดเวลา

ทั้งนี้ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อดูแลการบริหารจัดการ อนุรักษ์ และการพัฒนาลุ่มน้ำโขงบนหลักการใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม ซึ่งกัมพูชาได้แจ้งถึงแผนในการขุดคลองดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแล้ว แต่เวียดนามร้องขอข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายนักอนุรักษ์และทางการเวียดนาม แสดงความเป็นกังวลว่าโครงการขุดคลองนี้อาจสร้างความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับแถบลุ่มน้ำโขง เนื่องจากอาจส่งผลต่อการไหลของน้ำและปริมาณน้ำในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง บริเวณภาคใต้ของเวียดนาม ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข่าวที่สำคัญ

ปัจจุบัน 33% ของการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งเข้า-ออกจากกัมพูชา ต้องใช้ท่าเรือของเวียดนาม แต่เส้นทางน้ำใหม่ ระยะทาง 180 กม. จะเชื่อมท่าเรือในกรุงพนมเปญ ไปจังหวัดแกบ ก่อนออกสู่อ่าวไทย โดยไม่ต้องผ่านแม่น้ำโขงเข้าเวียดนามเหมือนในปัจจุบัน

อีกหนึ่งประเด็นความกังวล เป็นเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคง เนื่องจากบริษัทจีนให้การสนับสนุนการขุดคลองดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้จีนได้ประโยชน์จากการได้สิทธิสัมปทาน และยังสะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ในการโอบล้อมภูมิภาคอินโดจีน ท่ามกลางการแข่งขันกันขยายอิทธิพลระหว่างจีนและสหรัฐฯ

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ