ถ้าจะมีผู้นำประเทศคนใดรู้จักประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน มากที่สุด ชื่อหนึ่งที่ต้องนึกถึงคือ “อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก” ประธานาธิบดีเบลารุสซึ่งรู้จักปูตินมานานหลายปีและพบปะกันเป็นประจำ
ลูกาเชนโกครองอำนาจมายาวนาน 30 ปี ทำให้ถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงการเลือกตั้ง ทำลายผู้เห็นต่าง และทำลายล้างประชาธิปไตย จนสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ไม่ยอมรับเขาให้เป็นประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ล่าสุดลูกาเชนโกออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ว่าเกาหลีเหนือส่งทหารไปร่วมรบกับรัสเซียในยูเครน โดยบอกว่า “ไร้สาระ”
เขาบอกว่า “จากที่รู้จักตัวตนของเขามา ปูตินจะไม่พยายามโน้มน้าวประเทศอื่นให้กองทัพของพวกเขาเข้าร่วมปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียในยูเครน”
แต่เมื่อถามว่า “แล้วถ้ารายงานดังกล่าวได้รับการยืนยัน?” ลูกาเชนโกตอบว่า “หากกองกำลังติดอาวุธของประเทศใดประเทศหนึ่ง แม้แต่เบลารุส เข้าไปมีส่วนร่วมในแนวปะทะ จะเป็นก้าวหนึ่งสู่การยกระดับความขัดแย้ง”
เพจดัง แฉคลิปเปิดตัว“บอสโปลิศ” ชีวิตดี๊ดีที่ The icon
สรุปอันดับตารางคะแนนยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก หลังจบนัด 3 ลีก เฟส
พายุโซนร้อน "จ่ามี” เคลื่อนเข้าทะเลจีนใต้-เตือนอีสานได้รับผลกระทบ!
ลูกาเชนโกบอกว่า “แม้ว่าเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องในสงคราม ก็ยังเป็นเส้นทางสู่การยกระดับความขัดแย้ง ทำไมน่ะเหรอ เพราะพวกคุณ ชาวแองโกล-แซกซอน จะพูดทันทีว่ามีอีกประเทศหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ... ดังนั้นกองกำลังนาโตจึงถูกส่งไปที่ยูเครน”
เมื่อถามเขาว่าปูตินเคยขอให้ลูกาเชนโกส่งกองกำลังเบลารุสไปช่วยทำสงครามยูเครนของเครมลินหรือไม่ ประธานาธิบดีเบลารุสตอบว่า “ไม่เคยเลย ทั้งเขา ทั้งอดีตรัฐมนตรีกลาโหม เซอร์เ ชอยกู และรัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน อันเดรย์ เบลูซอฟ ไม่เคยตั้งคำถามนั้น”
แต่เบลารุสก็มีส่วนในสงครามของรัสเซีย-ยูเครน โดยเมื่อเดือน ก.พ. 2022 รัสเซียได้เปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบจากดินแดนเบลารุสบางส่วน
ลูกาเชนโกกล่าวถึงประเด็นข้างต้นว่า “มีการฝึกซ้อมในเบลารุสโดยมีทหารรัสเซียหลายพันนายเข้าร่วม ปูตินแค่เริ่มถอนทหารเหล่านี้ออกจากที่ที่พวกเขาอยู่ทางตอนใต้ของเบลารุส ไปตามถนนสายหนึ่ง ตามแนวชายแดนยูเครน”
เขาเสริมว่า “มีอยู่ครั้งหนึ่ง เขาเปลี่ยนเส้นทางทหารบางส่วนไปที่เคียฟ (เมืองหลวงยูเครน) ผมแน่ใจว่าพวกเขาถูกยั่วยุ มันขึ้นอยู่กับปูตินว่าเขาจะถอนทหารของเขาอย่างไร ผ่านทางเคียฟ หรือเขาอาจจะไปทางมินสก์ (เมืองหลวงเบลารุส) ก็ได้”
ผู้นำเบลารุสบอกอีกว่า “เขาไม่ได้โทรหาผม และผมไม่ได้โทรหาเขา ทหารเหล่านี้เป็นทหารของเขา และเขามีสิทธิ์ที่จะย้ายพวกเขาออกไปตามที่เขาต้องการ”
ความคิดเห็นดังกล่าวสะท้อนถึงระดับอิทธิพลที่รัสเซียมีต่อเบลารุสซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมถึงการที่รัสเซียได้ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ยุทธวิธีไว้ในเบลารุสด้วย
แต่ลูกาเชนโกบอกว่า “ปูตินจะไม่ใช้อาวุธที่ประจำการในเบลารุสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประธานาธิบดีเบลารุส ... แต่ผมพร้อมแล้วที่จะใช้ ไม่เช่นนั้นมีอาวุธเหล่านี้ไว้ทำไม แต่ก็ต่อเมื่อทหารต่างชาติคนหนึ่งก้าวเท้าเข้ามาในเบลารุสเท่านั้น เราไม่มีแผนที่จะโจมตีใคร”
เรียบเรียงจาก BBC