วันที่ 28 ม.ค. 2568 กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 1 และเรือธง USS Carl Vinson (CVN 70) เดินทางถึงท่าเรือแหลมฉบัง ตามกำหนดการเข้าเยี่ยมท่าเรือตามกิจวัตรปกติ
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ที่ยาวนานที่สุดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างกันมีมากว่า 190 ปีประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าพันธมิตรภายใต้สนธิสัญญาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ตลอดจดจนเป็นหุ้นส่วนและผู้นำด้านความมั่นคงที่ยาวนานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างต่อเนื่อง
พล.ร.ต.ไมเคิล เอส.วอส ชี ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 1 กล่าวว่า "เราขอบคุณประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งที่ต้อนรับลูกเรือของเราการเยือนประเทศไทยเปิดโอกาสอันหาค่ามิได้ เราได้ร่วมมือกับกองทัพเรือไทย และเน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนที่เรามีต่อประเทศไทย ในช่วงสองสามวันข้างหน้านี้ เราตั้งตารอที่จะได้พบปะกับภาคีของเราที่นี่ เพื่อกระชับไมตรีและความร่วมมือระหว่างกองทัพของเราและชุมชนไทย"
ขณะที่กองเรือบรรทกเครื่องบินนี้เทียบท่าอยู่ ลูกเรือจะมีโอกาสเที่ยวชมประเทศไทยและสัมผัสกับวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของไทย ตลอดจนทำกิจกรรมบริการชุมชนต่าง ๆ ลูกเรือไทย-อเมริกันบนเรือ USS Carl Vinson จะได้มีโอกาสพบปะกับครอบครัวด้วย
สำหรับUSS Carl Vinson เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz ที่สามารถปฏิบัติภารกิจหลากหลายทั่วโลก ตั้งแต่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปจนถึงการตอบสนองต่อภัยพิบัติและการสนับสนุนความพร้อม
กองเรือบรรทุกเครื่องบินนี้ ประกอบไปด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vinson (CVN 70)พร้อมทหารประจำกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 1 และกองเรือพิฆาตที่ 1 รวมถึงกองบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 2, เรือ USS Princeton (CG 59) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดอาวุธน่าวิถีชั้น Ticonderoga และเรือ USS Sterett (DDG 104) และ USS William P. Lawrence (DDG 110)
ซึ่งเป็นเรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีชั้น Arleigh Burke กองบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 2 ประกอบไปด้วย ฝูงบิน 9 ฝูง ซึ่งมีเครื่องบิน F-35C Lightning II, F/A-18E/F Super Hornets, EA-18G Growler, E-2D Advanced Hawkeye,CMV-22 Osprey และ MH-60R/S Sea Hawks
กองเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 1 ปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการของกองเรือที่ 7 แห่งสหรัฐฯ กองเรือที่ 7 เป็นกองเรือที่มีกองกำลังส่วนหน้าขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐฯ และมีปฏิสัมพันธ์และร่วมปฏิบัติการกับภาคีและหุ้นส่วนอยู่เป็นประจำเพื่อพิทักษ์ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่เสรีและเปิดกว้าง