
รฟม.เมินเสียงวิจารณ์ ดันประมูลสายสีส้มใหม่
เผยแพร่
แม้ช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหลายคน ต่างออกมาทัดทานถึงความโปร่งใส่ ในการใช้เกณฑ์การตัดสินการประมูลรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แต่ล่าสุดทาง รฟม.ได้ประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อใช้เกณฑ์การประมูลใหม่แล้ว
BTS-BEM ยื่นซองประมูลชิง รถไฟฟ้าสายสีส้ม
จับตา 2 เอกชนยักษ์ใหญ่ ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้านบาท
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้ประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยให้กรอกข้อคิดเห็นส่งกลับ รฟม.ตั้งแต่วันที่ 17 – 19 มีนาคมนี้ ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่จะมีการพิจารณาซองเทคนิคกับซองผลตอบแทนพร้อมกัน แล้วให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนผลตอบแทน 70% ต่างจากหลักเกณฑ์เดิมที่ จะพิจารณาซองเทคนิคก่อน 100% ผู้รับงานต้องได้ไม่ต่ำกว่า 85% เมื่อผ่านแล้วจึงจะยื่นซองผลตอบแทน หากใครให้ผลประโยชน์แก่รัฐมากที่สุดจึงจะเป็นผู้ได้รับโครงการนี้ไปทำ
โดยทาง รฟม.ได้อ้างเหตุผลที่ต้องล้มประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มวงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ครั้งก่อนแล้วมาเปิดประมูลใหม่ว่า พื้นที่มีความซับซ้อน มีความยุ่งยากในงานก่อสร้าง ดังนั้นต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ และต้องมีเครื่องมือชั้นสูงด้วย [แฟ้ม สามารถ ที่ส้ม สายสีส้ม ][MOS]แต่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน ที่ได้ออกมาทัดทานในประเด็นนี้อธิบายว่า หลักการก่อสร้างทุกอย่างเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำ หรือลอดใต้พื้นที่สำคัญ เอกชนที่เข้าร่วมล้วนทำได้ทั้งหมดอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงเกิดการตั้งข้อสงสัยให้แก่หลายฝ่าย ว่าอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางรายหรือไม่
เมื่อสอบถามกับหนึ่งในเอกชนที่ยื่นประมูลอย่าง นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า เดิมทีได้มีหนังสือจาก รฟม.เข้ามาแจ้งความประสงค์ว่าจะรับเงินค่าซื้อซองประมูลคืนหรือไม่ ซึ่งขอไม่รับเงินคืนเพราะจะเดินหน้าร่วมประมูลอยู่แล้ว แต่ภายหลังทาง รฟม.ก็กลับลำให้ผู้ซื้อซองทุกรายมารับเงินคืนไป เพื่อเริ่มต้นการประมูลใหม่ โดยนายภาคภูมิ ย้ำว่า ทางบริษัททำงานกันไปเยอะมากแล้ว ทั้งข้อมูลการเทคนิค วิธีการก่อสร้าง การออกแบบต่างๆ ดั้งนั้นคาดว่าทางบริษัทจะเดินหน้าประมูลแข่งขันในโครงการนี้ต่ออย่างแน่นอน พร้อมยืนยันอย่างมั่นใจว่า สามารถเดินหน้าสร้างโครงการได้อย่างไร้ปัญหา
ทั้งนี้ ยังต้องติดตาม วันที่ 15 มีนาคมนี้ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำสั่งชั้นตรวจฟ้อง ในกรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ได้ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง หลังประกาศล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline