พีพีทีวี ออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ คุณภูวกร ศรีเนียน หรือ จ.เจตน์ หนึ่งในผู้ร่วมต่อตั้ง เส้นด้าย - Zendai อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันเพื่อภารกิจประสานงานและส่งต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้เข้าระบบการรักษาตัวของสาธารณสุข ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ระบาดไปทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการ หาเตียงไม่ได้ ไม่มียารักษา จากผู้ป่วยระดับสีเขียวกลายเป็นระดับสีเหลือง และสีแดง จนถึงขั้นเสียชีวิตคาบ้านพักมาแล้วนับไม่ถ้วน
“บิ๊กตู่” สั่ง ทุกหน่วยงาน ต้องไม่มีคนป่วย มาคอยเตียงบนถนน
สปสช.เปิดเว็บไซต์ ช่วยผู้ป่วยโควิดในกทม.-ปริมณฑล รักษาต่อที่ภูมิลำเนา
ผู้ป่วยสงสัยตรวจเจอโควิด แต่ไม่ได้รักษา
มีทีมงาน 5-6 คนคอยรับสายโทรศัพท์ และให้ความช่วยเหลือตามที่ผู้ป่วยร้องขอเท่าที่จะช่วยได้ตามกำลังและโอกาส หลายครั้งที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ที่มีอาการหนัก ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวก่อน หากสอบถามแล้วอาการไม่หนักก็จะส่งต่อในระบบ Home Isolation บางคนก็รอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ไหวจนหายจากโรค และบางคนก็หายจากโลกไปเลยก็มี
เรื่องความกดดันนั้น คุณ จ.เจตน์ เล่าว่ามีเป็นธรรมดา เพราะเราทำงานบนความคาดหวังของสังคม "ความคาดหวังจากญาติพี่น้องผู้ป่วยเป็นสิ่งที่กดดันมาก บางทีเกิดความไม่เข้าใจต้องแยกให้ออกว่า เราคืออาสามาช่วย เราไม่ใช่ผู้รับผิดชอบหลัก แต่เราพยายามทำเต็มที่ บางครั้งความคาดหวังกับความเข้าใจผิดหรือความไม่เข้าใจกันมันก็มีในการทำงาน บางคนคิดว่าทำไมเราช่วยไม่ได้ทั้งหมด ทำไมเราช่วยได้แค่บางคน นั่นคือสิ่งที่เรากังวลกดดัน"
กทม.วิกฤต ผู้เสียชีวิตคาบ้าน เพิ่มจำนวนมากขึ้น
คุณ จ.เจตน์ ยอมรับว่า รู้สึกหดหู่ใจทุกครั้งที่ช่วยไม่ได้ในบางเคสจะรู้สึกกดดันมากที่สุด รู้สึกแย่ทุกครั้งโดยเฉพาะเมื่อมีสายโทรเข้ามาขอความช่วยเหลือ แล้วปลายสายแสดงความน่ากังวลของผู้สูงอายุในบ้านที่ป่วยติดเตียง
สำหรับเรื่องงบประมาณที่เข้ามาจุนเจือกลุ่มนั้น จะมาจากการขายสินค้าหน้าเพจเฟซบุ๊กเป็นหลัก ทั้งขายเป็นข้าวกล่อง ข้าวสาร อุปกรณ์ป้องกันเชื้อ รถรับส่งเป็นเที่ยว สำหรับใครที่อยากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
สำหรับมุมมองที่มีต่อการบริหารจัดการผู้ป่วยของรัฐบาล ณ เวลานี้ คุณ จ.เจตน์ เผยว่า "อดีตไม่พูดถึง นับแต่วันนี้ตั้งใจและจริงใจ และมองการอยู่รอดของประชาชนเป็นที่ตั้ง ความขัดแย้งระหว่างองค์กรต้องไม่มีโดยเด็ดขาด"
เปิดภารกิจ “ทีมอาสา” ในวันที่ไร้เตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19
"จริงๆ เราก็อยู่กับเรื่องนี้มาปีนึงแล้ว จริงๆ ปี 2563 เราโชคดีที่ไม่ได้ผลกระทบมากมายนัก แต่เราไม่ได้ป้องกัน ถ้าเราป้องกันไว้ได้ก่อนสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิด ถ้างบประมาณถูกถ่ายเทมาที่กระทรวงสาธารณสุขมากกว่านี้ ตั้งแต่เมื่อ ต.ค.ปีที่แล้ว มันจะไม่เดินมาถึงจุดๆ นี้..การบริหารอย่ามีกรอบอะไรยึดมาก เรามุ่งการแก้ไขปัญหาเป็นหลักเหมือนผมฟังสัมภาษณ์ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร เขาบอกว่าระเบียบข้ามไปเถอะ ถ้ามันจะไม่ทำให้เกิดการตาย ถ้าคนต้องมาตายเพราะรักษาระเบียบก็อย่ามีระเบียบเลย" คุณ จ.เจตน์ กล่าว