พศ. ชี้ พระไลฟ์ "มหาสมปอง - มหาไพรวัลย์" ตามยุคสมัย ให้เจ้าอาวาสพิจารณาความเหมาะสม

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รองผอ.สำนักพุทธ ชี้เทศน์ผ่านไลฟ์ 2 ของ "พระมหาสมปอง - พระมหาไพรวัลย์" เป็นไปตามยุคสมัย แต่เจ้าอาวาสจะพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ เปิดพ.ร.บสงฆ์ ให้อำนาจพิจารณาโทษได้

กระแสการไลฟ์เฟซบุ๊ก ของ "พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ" และ "พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต" พระภิกษุวัดสร้อยทอง กทม. เป็นที่นิยมและสร้างความฮีอฮาต่อเนื่อง 2 คืนที่ผ่านมา ยอดผู้ชมไลฟ์เกิน 2 แสนคน ด้วยการไลฟ์พูดคุยที่มีความบันเทิงเป็นเนื้อหาหลัก สอดแทรกธรรมะประปราย ลีลาท่าทางการพูดคุย ขบขันบันเทิง ศัพท์ภาษาแสลงที่ใช้ภาษาวัยรุ่น ยุคโซเชียลมีเดีย หยอก กัด กันเน้นอารมณ์ขัน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ บ้างตั้งข้อสังเกตถึงความสำรวม ในสมณเพศ และวินัยสงฆ์

รักกันดั่งพี่น้อง! แง้มโปรไฟล์ 2 พส. แห่งยุค ตีให้ตายยังไงก็ไม่โป๊ะ!

ฟีเวอร์ “พระมหาไพรวัลย์” สอนธรรมะโดนใจวัยรุ่น - กลุ่ม LGBT

“มหาไพรวัลย์” ฉะ สำนักพุทธฯไม่มีหน้าที่ตักเตือนพระ ชี้ทุกคนแสดงความเห็นได้ตาม รธน.

 

นายสิปป์บวร แก้วงาม รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวทางโทรศัพท์ มองว่า การตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิดวินัยสงฆ์ ไม่ใช่หน้าที่ของสำนักพุทธศาสนา แต่เป็นหน้าที่ของเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ คือเจ้าอาวาส ที่เป็นผู้บังคับบัญชาขั้นต้นของพระทั้ง 2 รูป 

"พระสองรูปนี้ไม่ได้เป็นเจ้าคณะปกครอง ท่านเป็นเพียงพระลูกวัด วัดหนึ่งเพราะฉะนั้นหน้าที่โดยตรงที่จะต้องพิจราณาว่าเรื่องนี้เหมาะหรือไม่เหมาะ ก็คือเจ้าอาวาสวัดที่เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของพระสองรูปนี้"

"ท่านจะต้องพิจราณาว่าที่พระในปกครองของท่านได้ทำการเผยแผร่รูปแบบพระพุทธศาสนาในรูปแบบนี้มันเหมาะสมหรือไม่ มันมีอะไรควรและมีอะไรไม่ควรก็เป็นเรื่องของทางเจ้าอาวาสที่จะต้องใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน" รองผอ.พศ. กล่าว
 
นอกจากนี้รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังบอกอีกว่า ส่วนตัวมองว่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เมื่อวันเวลาผ่านไป ยุคสมัยเปลี่ยนไป คงไม่มีใครอยากนั่งฟังธรรมแบบยุคก่อน แต่สิ่งสำคัญในความเป็นพระภิกษุสงฆ์คือ ความสำรวม ซึ่งตนเองเชื่อว่าประชาชนสามารถพิจารณาได้เองว่าพระทั้ง 2 รูป ที่เผยแผ่พุทธศาสนาผ่านไลฟ์สดนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ ส่วนตัวจะไม่ไปวิเคราะห์แทน
 
ขณะที่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 38 ว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่อบรมบ่มนิสัยบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่บนความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และหากบรรพชิตและคฤหัสถ์ไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสสามารถขับให้เสียจากวัดได้
 

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ