"ดร.เอ้ -สุชัชวีร์" แนะ 3 แนวทางวิธีบริหารจัดการน้ำ ป้องกัน กทม. จมบาดาล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อธิบดี สจล. ชี้จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำ กทม. พร้อมแนะ 3 วิธีในการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้กทม. จมบาดาล ในอีก 10 ปี

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  นายกสภาวิศวกร และ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ เรื่องใหญ่ By เสถียร  ผ่านสถานีโทรทัศน์ PPTV เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาจัดการน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร ว่าปัจจุบันทุกคนต้องเข้าใจกายภาพของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแอ่งคอนกรีตที่มีพื้นต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งนักวิจัยหลายแห่งพูดตรงกันว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ กทม. จะต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง อีก 10 ปี อย่างไรก็ต้องท่วม กทม. 

ผู้ว่ากทม.สั่งลดระดับน้ำในคลอง แก้มลิง อุโมงค์ รับมือไต้ฝุ่น "โมลาเบ" 29 - 30 ต.ค.

วสท. ระบุอุโมงค์ยักษ์ไม่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม.

น้ำท่วม กทม.ที่ผ่านมาเราลงทุนเรื่องการระบายน้ำ กทม. รวมกันแล้ว 20,000-30,000 ล้าน 10 ปีผ่าน ใช้ไปแล้วประมาณ 300,000 ล้าน ไปก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และอย่างที่ทราบกันดี พื้นที่ กทม. เป็นกะละมัง เมื่อน้ำฝนตกลงมาจะนำน้ำออกจากกะละมัง ก็ต้องใช้วิธีการสูบน้ำ ดังนั้น เครื่องสูบน้ำจึงเปรียบเสมือนหัวใจ เครื่องไหนดับ น้ำก็จะเข้าท่วมพื้นที่ทันทีต่อให้ไม่ทิ้งขยะ แม้แต่ชิ้นเดียวมันก็ไม่รอด   "กรุงเทพเป็นเมืองปั๊ม ไม่มีปั๊มกรุงเทพตาย " 

ดั้งนั้น กทม. จึงต้องดำเนินการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. ระยะสั้น ต้องรีบจัดการเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำจากระบบดีเซลเป็นระบบ ไฟฟ้า เนื่องจากเครื่องสูบน้ำในกทม. ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นเครื่องดีเซล เวลาฝนตกลงมาเจ้าหน้าที่ กทม. ต้องมาทำหน้าที่เปิด หากลืมกุญแจ หรือเครื่องสตารท์ไม่ติด หรือน้ำมันหมด ก็จะส่งผลให้น้ำท่วม กทม.ในทันที นั่นจึงกลายเป็นจุดอ่อนของ กทม. 

ซึ่งแตกต่างกับต่างประเทศที่เปลี่ยนระบบเป็นระบบไฟฟ้าอัตโนมัติหมดแล้ว ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนระบบการสูบน้ำได้แล้ว โดยระบบนี้หากน้ำอยู่ในปริมาณที่ต้องสูบออกเครื่องติดเองอัตโนมัติ และทำการสูบน้ำออกเอง 

2. ระยะกลาง ระบบแก้มลิงใต้ดิน ส่วนกลาง และบริเวณปากซอย  ในรูปแบบอ่างเก็บน้ำใต้ดิน เพื่อลำเลียงน้ำฝนบนพื้นถนน ไปกักเก็บไว้ใต้ดิน เพื่อรอระบายไปยังแหล่งน้ำ โดยชัยภูมิในพื้นที่กทม. ที่เหมาะสมต่อการทำแก้มลิงคือ บริเวณใต้โรงงานยาสูบ สวนเบญจกิติ ตรงนั้นสามารถทำได้ง่ายและเก็บน้ำได้ 100,000 ลบ.ม. ซึ่งจะทำให้ ถนนสุขุมวิท อโศก จนถึงนานา พระราม 4 ราชประสงค์ แห้งสนิท และไม่ต้องเวนคืนที่ดิน อีกทั้งในการก่อสร้างก็ไม่ได้เดือดร้อนคน 

3. ระยะยาว คันกั้นน้ำทะเล โดยสามารถทำได้แถวสมุทรปราการเพราะว่าถ้า สมุทรปราการท่วม กทม.ก็ไม่รอด ถนนสุขุมวิทก็ต้องยกขึ้นมา ซึ่งต้องลงมือทำได้แล้ว หากไม่ทำในอนาคต กรุงเทพฯ ฝั่งขาวไม่มีทางรอด

ชาวบางบาลร้องรัฐเยียวยาน้ำท่วม

เปิดขั้นตอนจองสิทธิ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 เริ่ม Check-In วันแรก 15 ต.ค. นี้

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ