มาอีกลูก! พายุโซนร้อน “คมปาซุ” อุตุฯคาดแผลงฤทธิ์ 14-16 ต.ค. เตือนฝนตกหนักกว่าเดิม

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรมอุตุนิยมวิทยา คาด พายุโซนร้อน “คมปาซุ” ขึ้นฝั่งเวียดนาม จากนั้นจะเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักมากกว่าพายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” ในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. นี้

อุตุฯ เตือนภัย พายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” เหนือ-อีสานรับมือฝนตกหนัก

น้ำเหนือ-น้ำหนุน กระทบชาวบ้านริมเจ้าพระยา

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564 สำนักข่ายไทยรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า พายุโซนร้อน “คมปาซุ” อยู่บริเวณประเทศฟิลิปปินส์แล้ว จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่เวียดนาม โดยอิทธิพลพายุโซนร้อนคมปาซุ” จะส่งผลให้ไทยมีฝนมากกว่าพายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” ส่วนพายุโซนร้อน “น้ำเทิน” ซึ่งเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกอีกลูก อยู่ห่างมากและคาดเคลื่อนที่ไปทิศทางอื่น

โดย นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผย จากภาพถ่ายดาวเทียมช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้แสดงตำแหน่งของพายุโซนร้อน “คมปาซุ” ซึ่งอยู่บริเวณตะวันออกของประเทศฟิลิปินส์ ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จากแบบจำลองแสดงทิศทางการเคลื่อนตัวเข้าสู่เวียดนาม แล้วเคลื่อนสู่ประเทศไทยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้คาดการณ์ว่าพายุโซนร้อน “คมปาซุ” จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเช่นเดียวกับพายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” แต่จะมีอิทธิพลให้เกิดฝนตกหนักกว่า ซึ่งจะออกประกาศเตือนให้เฝ้าระวังต่อไป

นายณัฐพล กล่าวต่อว่า พายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” ปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบน คาดว่า จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่บ่ายของวันนี้ถึงพรุ่งนี้ (11-12 ต.ค.) ต่อมาในวันที่ 13 ต.ค.ฝนจะลดลง จากนั้นจะมีฝนเพิ่มขึ้นเพราะอิทธิพลของพายุโซนร้อน “คมปาซุ” ตั้งแต่ 14 -16 ต.ค. ประกอบกับในห้วงเวลาเดียวกัน ร่องมรสุมจะพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ด้วย

รบ.เปิดพฤติกรรมแปลกร้านค้า เหตุรัฐต้องเอาคืน "เราชนะ" 17 ล้าน แนะวิธีรอดเจอเรียกเงินคืนโครงการรัฐ

ศบค.ชุดใหญ่ นัดถกมาตรการผ่อนคลาย 14 ต.ค. นี้ จับตาไฟเขียวจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว

ทั้งนี้ อธิบดีกรมอุตินิยมวิทยา กล่าวถึงเรื่องที่ประชาชนวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวพายุโซนร้อน “น้ำเทิน” ซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตามมา จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า อยู่ห่างมากและคาดว่า จะเคลื่อนตัวไปทิศทางอื่น ไม่ได้เข้าสู่ประเทศไทย

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ