องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันก่อตั้ง FAO เป็น วันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขจัดความอดอยาก หิวโหย และทุพโภชนาการ ที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ในโลกสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทมากขึ้น จึงมีโครงการที่ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยเพิ่มผลผลิตและเพาะปลูกในภาวะที่แห้งแล้ง
“โครงการอาหารโลก” คว้าโนเบลสันติภาพ
อาหาร-น้ำปนเปื้อน คร่าชีวิตมนุษย์ถึง 4.2 แสนคน/ปี มากกว่าโรคเอดส์!
แม้ว่าโลกของเราจะก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยังมีผู้คนนับล้านทั่วโลกที่ไม่สามารถซื้ออาหารเพื่อสุขภาพได้ ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทุพโภชนาการแต่ ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับอุปทานเท่านั้น เพราะทุกวันนี้มีการผลิตอาหารเพียงพอที่จะเลี้ยงทุกคนบนโลกใบนี้
ปัญหาคือการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งถูกขัดขวางมากขึ้นจากความท้าทายหลายอย่าง ทั้งการระบาดของโควิด-19, ความขัดแย้ง, สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง, ความเหลื่อมล้ำในสังคม, ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น และความตึงเครียดระหว่างประเทศ
ทำให้ประชากรบนโลกกว่า 40% หรือมากกว่า 3.1พันล้านคน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท หรือผู้ที่ต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากนี้ด้วยชาติพันธุ์หรือสถานะทางสังคมของเขา การที่จะเขาถึงการเรียนรู้, การเงิน, นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ จึงกลายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา
ในปีนี้ FAO จึงเรียกร้องผ่านทวิตเตอร์ขององค์กรโดยติดแฮชแท็ก #FoodHeroes ส่งสาสน์ไปถึงทุกคนทั่วโลกว่า เราสามารถเป็น “ฮีโร่” ได้ด้วยการสร้างและทำให้โลกอยู่อย่างยั่งยืน เพราะการกระทำ การปฏิบัติต่ออาหารของเราทุกคนในวันนี้ มีผลกระทบกับอนาคตของเรา และทุกคนไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง
โดยให้คำขวัญประจำปีนี้ว่า “Better production, Better nutrition, a better environment, and a better life” หรือ “กระบวนการผลิตที่ดีขึ้น โภชนาการที่ดีขึ้น สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” พร้อมรณรงค์ให้คนทั้งโลกร่วมกันช่วยแก้วิกฤตการเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารผ่านการติดแฮชแท็ก #FoodHeroes
ประวัติ “วันอาหารโลก”
ที่มาของวันอาหารโลกเกิดขึ้นวันแรกในปี พ.ศ. 2524 รัฐสมาชิกขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในการประชุมทั่วไปครั้งที่ 20 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 คณะผู้แทนฮังการี นำโดยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและอาหารของฮังการี ดร.พอล โรมานี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในสมัยการประชุมครั้งนั้น ได้เสนอแนวคิดในการเฉลิมฉลองวันอาหารโลกทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งให้ประเทศต่าง ๆ มีจิตสำนึกเรื่องอาหารและการพัฒนา เสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติ และ นานาชาติในการต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย
ขอบคุณข้อมูลจาก : Food and Agriculture Organization of the United Nations