เจ้าของฟาร์มหมูให้ข้อมูลกับทีมข่าวพีพีทีวี ว่า เจ้าหน้าที่ที่ลงมาตรวจสอบฟาร์ม มีตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ จากกรมปศุสัตว์ ,เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์เขต7 และปศุสัตว์จังหวัด ทั้งหมดมาช่วงเย็นเมื่อวาน หลังสื่อมวลชนกลับไปแล้ว เวลาประมาณ 17.00น.และอยู่เก็บตัวอย่างไปจนถึง 2 ทุ่ม
โดยตัวอย่างที่เจ้าหน้าที่เก็บไป เป็นซากหมูที่ตายในฟาร์ม ซากหมูที่ถูกยัดใส่โอง ตัวอย่างน้ำ ดิน และอื่นๆ อีกจำนวนมาก เพื่อนำไปตรวจสอบสาเหตุการตายของหมู ว่าเกิดจาก ASF หรือไม่ หรือล้มตายจากโรคระบาดอื่น
รู้จักโรค ASF โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หายนะหมูไทย
กรมปศุสัตว์ รับตรวจพบอหิวาต์แอฟริกาในหมู
สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มีคำสั่งเมื่อวานนี้ และให้สัมภาษณ์ พีพีทีวี ว่า หลังเก็บตัวอย่างซากหมูแล้ว หากพบว่ามีการติดเชื้อ ASF ฟาร์มหมูโดยรอบในรัศมี 5 กิโลเมตร อาจได้รับผลกระทบตามมาด้วย เพราะต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์
พร้อมย้ำว่า หากสงสัยว่าฟาร์มหมูแห่งไหน มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์สามารถเข้าไปดำเนินการตามขั้นตอนได้ โดยไม่ต้องรอเจ้าของฟาร์มแจ้ง
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เฉพาะที่ ต.ท่าข้าม อ.สามพราน มีฟาร์มหมูมากกว่า 20 แห่ง แต่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพร้าง มีหมูอยู่ในฟาร์มไม่ถึง 10 ตัว ส่วนใหญ่ตายจากโรค และถูกขายออกไปทันทีที่หมูในฟาร์มเริ่มตาย ตั้งแต่ปี 2562 ไม่ได้ต่างจากฟาร์มของเฮียแป้น นั่นหมายความว่า ฟาร์มเหล่านี้จะต้องถูกตรวจสอบ เก็บตัวอย่าง หาเชื้อ ASF ด้วยหรือไม่
แต่ที่น่ากังวลคือ เจ้าของฟาร์มส่วนใหญ่จะไม่แจ้ง ปศุสัตว์ ว่าหมูตาย เพราะจะถูกสั่งปิดฟาร์ม ไม่สามารถระบายหมูออกมาขายได้ การลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มหมูเฮียแป้น ยังต้องจับตาอย่างต่อเนื่อง ว่าผลจะออกมาอย่างไร เพราะหากผลเป็นบวก หมายความว่า มีโอกาสสูงที่พื้นที่บริเวณนี้ มีการระบาดของ ASF มานานแล้วหรือไม่
เช็กที่นี่ สูตรฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1-4 ควรฉีดแบบไหน
นอกจากที่นครปฐมแล้ว ทีมข่าวพีพีทีวี ลงพื้นที่สำรวจฟาร์มหมูในพื้นที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พบว่าหลายฟาร์มไม่สะดวกให้ข้อมูล โดยส่วนใหญ่บอกว่ากังวลเรื่องความปลอดภัยจากผู้มีอิทธิพล
แต่ให้ข้อมูลว่าสถานการณ์การเลี้ยงหมูต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีน เท่ากับว่าไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าเชื้อจะไม่กลับมาอีก ระหว่างนี้การทำฟาร์มหมูจึงต้องปรับเป็นระบบ Biosecurity ที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพเท่านั้น โดยต้นทุนการทำฟาร์มแบบ Biosecurity ค่าใช้จ่ายต่อแม่พันธุ์หมู 1 ตัว คือ 100,000 บาท ยังไม่รวมการปรับปรุงโครงสร้างอาคารอีก / หมายความว่าผู้เลี้ยงหมูรายย่อยและขนาดเล็ก แทบจะหมดสิทธิ์กลับมาเลี้ยงหมูอีก ขณะที่ฟาร์มหมูขนาดกลางก็สู้ต่อลำบาก เหลือเพียงฟาร์มขนาดใหญ่ทีพอมีศักยภาพมากกว่า / โดยผู้เลี้ยงหมูสะท้อนว่าต้องการให้ภาครัฐมีนโยบายพักชำระหนี้ให้เกษตรกรหมูชั่วคราว และเร่งพัฒนาวัคซีน เพราะหากไม่พักชำระหนี้เดิม แล้วรัฐให้กู้เงินใหม่ ก็ไม่เพียงพอที่จะลงทุนเลี้ยงหมูใหม่ได้
ด่วน! ฉีดวัคซีนเข็ม 3 นนท์พร้อมเปิดจอง "โมเดอร์นา" เช็กเงื่อนไข เริ่ม 14-16 ม.ค.
ยื่นภาษีของปี 2564 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และภาษีทุกประเภท ผ่าน E-FILING
ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกาศพบโรคระบาด ASF ในประเทศไทย จะส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งหมูออกได้เป็นเวลา 10 ปี