Who’s Call เผย 1 ปี ไทยเจอมิจฉาชีพโทรหลอกพุ่งเกิน 200% เสียหายพันล้าน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Who’s Call เผย 1 ปี ไทยเจอมิจฉาชีพโทรหลอกพุ่งเกิน 200% ขณะที่มูลค่าทางการเงินที่เกิดจากการหลอกลวงผ่านช่องทาง SMS และโทรศัพท์รวมกันมีสูงถึงกว่า 1,000 ล้านบาท

เวทีเสวนาออนไลน์ “นักคิดดิจิทัล ร่วมหาทางออกแก้ปัญหามิจฉาชีพยุค 5G” มีข้อมูล สถิติการเกิดอาชญากรรมโลกไซเบอร์ ณ ปัจจุบัน ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Gogolook ประเทศไทย บริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชันฮูส์คอลล์ (Whoscall) รายงานเกี่ยวกับภาพรวมมิจฉาชีพออนไลน์ในไทยและมุมมองปัญหาดังกล่าวจากทั่วโลกว่า 

มุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สารพัดเทคโนโลยี Deepfake หลอกเงินคน

สมาคมฌาปนกิจฯ วุ่น ปมโกงเงินผู้เสียชีวิตนาน 12 ปี รวมกว่า 700 ล้าน

ตลอดปี 2563 - 2564 ประเทศไทยมียอดโทรศัพท์หลอกลวงเพิ่มสูงถึงร้อยละ 270 ในขณะที่ยอดเอสเอ็มเอสหลอกลวงมีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 57

 

โดยรูปแบบการหลอกลวงจะมาในหลากหลายแบบ เช่น หลอกให้ลงทุน หลอกว่ามีงานให้ทำ หลอกปล่อยเงินกู้ เป็นต้น ซึ่ง แอปพลิเคชันชันฮูส์คอลล์ที่ช่วยระบุเบอร์โทรที่ไม่รู้จักว่ามีการเกี่ยวพันกับการหลอกลวงหรือไม่ก่อนรับสาย โดยเบอร์มิจฉาชีพเหล่านั้นจะถูกผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันฮูส์คอลล์ส่งเบอร์หลอกลวงเหล่านั้นเข้ามารายงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภครายอื่น ๆ ต่อไป

ศูนย์บริโภคผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จของสภาองค์กรของผู้บริโภค พบว่า มิจฉาชีพยุค 5G มักใช้ความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยีเพื่อหลอกเอารหัส OTP ไปใช้ทำธุรกรรมด้านการเงิน / แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อ้างเหตุพัสดุตกค้าง โดยปัจจุบันได้ดำเนินการในรูปแบบองค์กรและมีศูนย์คอลเซ็นเตอร์อยู่ในต่างประเทศทำให้ยากที่จะติดตาม ซึ่งพบว่าเงินที่ถูกหลอกให้โอนไปที่บัญชีม้านั้นจะถูกโอนต่อไปยังบัญชีอื่นภายใน 15 วินาทีเท่านั้น และจะถูกโอนไปอีกหลายชั้นเพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ

ตรวจสอบบัญชีปลายทางได้ที่เว็บไซต์ Blacklistseller หากถูกหลอกให้ดำเนินการภายใน 3 ชั่วโมง

ผู้บริโภคควรเข้าไปตรวจสอบบัญชีปลายทางได้ที่เว็บไซต์ Blacklistseller ศูนย์กลางการตรวจสอบการฉ้อโกงออนไลน์ เช็คชื่อและเลขบัญชีก่อนซื้อขายเพื่อป้องกันการโดนโกง หากผู้บริโภคถูกหลอกจากลุ่มมิจฉาชีพก็สามารถแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ หรือจะเลือกดำเนินการผ่านระบบออนไลน์คดีอาชญากรรมทางทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้เสียหายต้องรีบดำเนินการภายใน 3 ชั่วโมงเพื่อเพิ่มโอกาสในการอายัดบัญชีลดความเสี่ยงในการสูญเสียทรัพย์

มูลค่าความเสียหายกว่าพันล้านบาท

ในขณะที่ ชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ในปัจจุยันมิจฉาชีพใช้การสื่อสารที่หลากหลายเพื่อการหลอกลวงผู้บริโภค และอ้างตัวเป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ  จนทำให้ผู้บริโภคเปิดเผยข้อมูบส่วนบุคคลอย่างเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเลขบัญชี 

ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามูลค่าทางการเงินที่เกิดจากการหลอกลวงผ่านช่องทางเอสเอ็มเอสและช่องทางทางโทรศัพท์รวมกันมีสูงถึงกว่า 1,000 ล้านบาท

โดยที่ยังไม่ได้รวมมูลค่าความเสียหายในช่องทางอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคในภาวะเศรษฐกิจช่วงขาลงอย่างมาก

คำถามคือ แก๊งหลอกลวงกลุ่มต่าง ๆ ได้ข้อมูลเหล่านี้มาจากที่ใดและอย่างไร

จึงอยากเสนอให้ทุกการสมัครใช้แพตลฟอร์มต่าง ๆ ขั้นตอนสุดท้ายควรต้องให้มีการยืนยันตัวตนผ่านการใส่รหัสส่วนบุคคลเสมอ การที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์ของผู้บริโภคชาวไทยอยู่ในมือนั้น นอกจากเกิดขึ้นโดยการโจรกรรมแล้ว เรายังมองว่าอาจมีการขายข้อมูลเหล่านี้ออกไปด้วย จึงอยากให้มีกระบวนการตรวจสอบก่อนขายข้อมูลให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งคงต้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นเพื่อกำกับดูแลอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ ระบบการบล็อกเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพนั้นก็อยากให้เพิ่มกระบวนการและวิธีการในการคัดกรองที่สามารถแยกได้ระหว่างเบอร์ที่สุจริตและเบอร์ที่มีเจตนาที่ไม่ได้เพื่อลดโอกาสเกิดการฉ้อโกง และเมื่อทราบเบอร์ดังกล่าวแล้วก็อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายผลเพื่อจับกุมอย่างจริงจังต่อไป

อยากเรียกร้องให้ กสทช. กำหนดมาตรการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มข้นและจริงจังมากขึ้น รวมทั้งเมื่อมีการจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ควรต้องมีการขยายผลเพื่อจัดการให้ถึงต้นตอเพื่อให้ทราบถึงช่องทางการได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการหลอกลวงเพื่อให้แก๊งเหล่านี้ลดน้อยลง

นอกจากนั้นแล้วการแก้ปัญหา SMS ก่อกวนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  โดยากการสำรวจของฝ่ายนโยบายและนวัตกรรมของสภาองค์กรของผู้บริโภค เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 – เดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,130 คน สามารถสรุปคำนิยามของปัญหาเอสเอ็มเอสในปัจจุบันออกเป็น 3 รูปแบบ

  • เอสเอ็มเอสกวนใจหรือการได้รับเอสเอ็มเอสบ่อยครั้งทั้งที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
  • เอสเอ็มเอสกินเงินหรือการรับเอสเอ็มเอสหรือสมัครสมาชิกโดยไม่รู้ตัว  

เอสเอ็มเอสหลอกลวง หรือการได้รับเอสเอ็มเอสแอบอ้างที่ส่งมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและมักแอบอ้างหน่วยงานใหญ่ ๆ ทั้งภาครัฐและอกชน ที่มักมาในรูปแบบเอสเอ็มเอสให้กู้เงินหรือการแจ้งสถานะบัญชี รวมถึงการชักชวนให้เล่นการพนัน และบ่อยครั้งยังกดดันให้ผู้บริโภคตอบรับซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสูญเสียข้อมูลความเป็นส่วนตัวหรือทรัพย์สิน

การสำรวจยังระบุอีกว่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ผู้บริโภคมักเจอกับปัญหาเอสเอ็มเอสมากที่สุดคือ เอไอเอส ร้อยละ 51.6 ตามมาด้ายทรู ร้อยละ 36.3  ตามมาด้วยดีแทค ร้อยละ 31.3 และเอ็นที ร้อยละ 2.4  

โดยทางออกในปัจจุบันของผู้บริโภคคือ

  • กด *137 ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่ายุ่งยากและใช้เวลา
  • ติดต่อคอลเซ็นเตอร์เพื่อแจ้งหน่วยงานรับเรื่องการร้องเรียนของแต่ละองค์กร
  • ร้องเรียนสายด่วน กสทช.

ซึ่งผู้บริโภคมากถึงร้อยละ 52.6 ที่ไม่พอใจกับการติดต่อผ่าน 3 ช่องทางดังกล่าว โดยผู้บริโภคเห็นพ้องกันว่า กสทช. ควรเข้ามามีบทบาทกำกับดูแลผู้ให้บริการเครือข่ายทุกรายอย่างเข้มงวด

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ