“กาโตะ” ซุ่มเงียบ หอบเงิน 6 แสนคืนวัด ทนายชี้ความผิดสำเร็จแล้ว

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรณีของ “อดีตพระกาโตะ” เบิกเงินจากบัญชีของวัด 6 แสนบาท หลังก่อนหน้านี้ระบุว่าเงินที่เอาไปเคลียร์กับ “น.ส.ตอง” และมอบเงินให้พระคนกลางเพื่อจะไปเคลียร์นักข่าวเป็นเงินส่วนตัว ล่าสุด ข้อมูลว่าเมื่อช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ “กาโตะ” นำเงินมาคืนให้กับวัดแล้ว

ตอง เปิดหน้าออกรายการยอมรับผิดแต่หากใครวิจารณ์ให้เสียหายพร้อมดำเนินคดี

สื่อนครศรีฯ แจ้งความ “กาโตะ” อ้างจ่ายนักข่าว 3 แสน ปิดเรื่องฉาว

บันทึกการคืนเงินด้วยลายมือเพื่อเป็นหลักฐานหลัง “กาโตะ” นำเงินจำนวน 6 แสนบาท ที่เบิกจากบัญชีของวัดเพ็ญญาติ ตำบลกะเปียด อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมรา มามอบคืนให้ทางวัด โดยมีพยานรับรู้ 5 คน  

ทั้งนี้ในบันทึกข้อความดังกล่าว ระบุชัดเจนว่าทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นที่วัดมังคลาราม มีพยานลงลายมือชื่อรับทราบ 5 คน คือ พระครูอรรคธรรมโกวิท เจ้าคณะอำเภอฉวาง วัดวังม่ว พระครูบุญการโกศล

เจ้าคณะตำบลพิปูน วัดมังคลาราม นายบำรุง ยอดมณี นายก อบต.กะเปียด ายกิตติ หนูเนตร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 และนายจีรัชญ์ เกษเพชร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่1 ซึ่งจากข้อมูลทราบว่า “กาโตะ” เดินทางมาพร้อมกับญาติจำนวนหนึ่ง และหลังจากมอบเงินคืนเสร็จก็แยกย้ายกันไปทันที

 

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ การตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของวัดเพ็ญญาติ กำหนดว่าการเบิกเงินของวัดแต่ละครั้งจะมีคณะกรรมการทั้งหมด 3 คน ซึ่งจะต้องมีลายเซ็นของ 2 ใน 3 คน จึงจะสามารถเบิกเงินได้ และจากข้อมูลทราบว่าก่อนที่ “กาโตะ” จะลาสิขาประมาณ 2 วัน “กาโตะ” ได้มาขอเบิกเงินอ้างว่าจะเอาเงิน 600,000 บาท ไปปรับปรุงอาสนะของวัด  ซึ่งในวันนั้นก็มีลายเซ็นของ “กาโตะ” และกรรมการอีกคนหนึ่ง

ด้าน นายโชคดี นุมาศ ไวยาวัจกรวัดเพ็ญญาติ ระบุว่า ตัวเองไม่ได้เป็นคนลงนามในการเบิกเงิน แต่ “กาโตะ” มาขอเบิกเงินว่าเป็นการขอยืม ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นการยืม ถ้าเอามาคืนก็จบ และก็ไม่ได้ผิดหวังอะไร เพราะกาโตะทำประโยชน์ให้วัดมากมาย

ไม่ผิดหวังอะไร เพราะแกทำประโยชน์ให้วัดมากมาย ก็ถ้าแกมายืม 600,000 บาท แกไปใช้ นี่ความคิดนะ เพราะเงินที่ได้มาก็เพราะแก ถึงถ้าแกจะเอาไปแกก็หามาใส่ นี่ถ้าแกเอามาใส่ก็จบ ถือว่าเป็นการยืมถูกต้องไหม ถูกต้อง ยืมแล้วมาใช้ พอใช้แล้วก็จบ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกัน

สำหรับการตรวจสอบตอนนี้ มีหลายฝ่ายมากมายทั้ง กองป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งหากพบว่า ผิดจริง ถือเป็นความผิดเจ้าพนักงาน แต่เบียดบังทรัพย์ไปเป็นของตัวเอง หรือ ทุจริตยอมให้คนอื่นเอาทรัพย์สินไป ตามกฎหมายอาญามีโทษ จำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี หรือ จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 แสน – 4 แสนบาท  และเป็นคดีที่ยอมความไม่ได้  ส่วนจะเข้าข่ายคดีอาญามาตรา 157 หรือไม่ ต้องรอให้คณะปกครองสงฆ์ในพื้นที่พิจารณา

ขณะเดียวกัน ต้องรอทางคณะปกครองสงฆ์ แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดคนใหม่ก่อนและจะเป็นผู้ร้องทุกข์ แจ้งความดำเนินคดี

ขณะที่ นายธนาชัย เกตุโรจน์ ประธานชมรมทนายความเมืองคอน กล่าวว่า ถึงจะมีการคืนเงินที่เบิกไป 600,000 บาทแล้ว แต่ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว 

นอกจากนี้ ยังมีประเด็น “พระคนกลาง” ที่ พีพีทีวี ได้ข้อมูลเด็ดมาอีก ว่า พระรูปนี้ก็มีประวัติไม่ธรรมดา ล่าสุดพบว่า มีหมายจับค้างเก่า ในคดีเช็คเด้ง จากเอกสารหมายจับ พบว่า เป็นเช็คที่เกิดจากการทำธุรกรรมขายวัตถุมงคลที่เชื่อมโยงกับศาสนา

สถานะของ “พระคนกลาง” ต่อหมายจับนี้ คือ หลบหนี อายุความการจับกุม 5 ปี นับจาก 15 กันยายน 2560  หมายความว่า ปัจจุบัน หมายจับนี้ยังสามารถใช้ได้ หากตำรวจเจอตัวก็สามารถจับกุมได้ ทันที เพราะ หมายจับจะหมดอายุ 15 กันยายน 2565  ซึ่งตอนนี้ ไม่มีใครทราบว่า พระคนกลางอยู่ที่ไหน

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ