สพฐ.ออกเอกสารให้โรงเรียนทำอาหารมังสวิรัตให้เด็กกินช่วงเข้าพรรษา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ หลัง สพฐ. ส่งหนังสือขอความร่วมมือให้โรงเรียนในสังกัดปรุงอาหารมังสวิรัต เป็นมื้อกลางวันให้นักเรียนจำนวน 9 มื้อ ในช่วงเข้าพรรษา

มีเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีคำสั่งให้โรงเรียนประกอบอาหารมังสวิรัติเป็นมื้อกลางวันในวันพระ หรือวันที่โรงเรียนกำหนด รวม 9 มื้อ เพื่อลดการเบียดเบียน ส่งเสริม และปลูกฝังความเมตตาต่อสัตว์ ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

โดยในเอกสารระบุชัดเจนว่า จัดอาหารกลางวันสุขภาพจากพืช งดเว้นเนื้อสัตว์ นม ไข่ ลดน้ำตาล และ น้ำมันพืช หรือ อาหารมังสวิรัติ

สิ้น "หม่อมเจ้าภีศเดช" ผู้ถวายงานรับใช้ในหลวง ร.9 สิริพระชันษา 100 ปี

อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 : ผลโหวต "บิ๊กตู่" อยู่ต่อ 11 รมต. รอด เช็กผลโหวตใครท็อป ใครบ๊วย ใครเกือบหลุ...

หลังจากที่หนังสือดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยหลายคนกังวลว่านักเรียนจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการให้งด นม และ ไข่ ซึ่งถือเป็นอาหารหลักที่จำเป็นของเด็กวัยเรียน

ทีมข่าวพีพีทีวี ได้สอบถามจากนางสาวแววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ถึงข้อวิตกกังวลดังกล่าว นางสาวแววตา บอกว่า ไม่ได้ คัดค้านการให้นักเรียนทานมังสวิรัติ แต่ต้องมีการสื่อสารให้ชัดเจนมากกว่านี้ ต้องให้เด็กรู้จัก และ ทราบถึงประโยชน์ของการทานมังสวิรัติ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ไม่คุ้นเคยและไม่เคยทานมาก่อน ขณะเดียวกันทางโรงเรียนต้องมีความเข้าใจ และ เชี่ยวชาญในการปรุงอาหารมังสวิรัติ เพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในแต่ละมื้อ

ซึ่งสารอาหารสำหรับเด็กวัยเรียน ต้องมีคือ คาร์โบไฮเดรต 50% ข้าว ต้องไม่ผ่านการขัดสี  ไขมัน 30% ต้องไม่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำ โปรตีน 20% ไข่วันละ 1-2 ฟอง นมวันละ 1-2 กล่อง และให้เด็กทานผลไม้แทนขนมหวาน

ส่วนข้อกังวลที่ว่าเด็ก ๆ ไม่กินผัก จะสามารถทานอาหารมังสวิรัติได้หรือไม่ นางสาวแววตา แนะนำว่า ทางโรงเรียนต้องปรุง
เมนูอาหารที่เด็ก ๆ ทานง่ายอย่างผักชุบแป้งทอด โดยเลือกผักที่มีโปรตีนสูง และ ผักที่มีรสหวาน เช่น ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน ทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน เพื่อให้เด็กทานได้ หรือเบอร์เกอร์มัง ที่ใช้โปรตีนเกษตรมาเป็นส่วนเสริม เป็นต้น

ด้าน รศ. นพ. กรภัทร มยุระสาคร หัวหน้ากลุ่มวิจัยสุขภาพประชากรและโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก “หมอนัดโภชนาการ” ให้ความเห็นว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เพราะเด็กที่กำลังเจริญเติบโตไม่ควรที่จะทานมังสวิรัติ เนื่องจากเด็กต้องการสารอาหารและแร่ธาตุหลายหลายอย่างโดยเฉพาะไข่และนม และ ไม่อยากให้มองว่าการทานมังสวิรัติ คือ อาหารสุขภาพดีเพียงอย่างเดียว เพราะไม่อย่างนั้นถ้าเด็กไม่ชอบกิน ในอนาคตเด็กอาจจะมองอาหารมังสวิรัติไปในทางที่แย่ไปเลยก็ได้ ดังนั้นหากโรงเรียนอยากจะให้เด็กทานมังสวิรัติตามนโยบายก็ไม่ควรที่จะงดไข่และนมโดยเด็ดขาด

ขณะที่ นายสมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าวด้วยว่า วัตถุประสงค์และหลักการดูดี แต่สอบตก และไม่น่าสนับสนุน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ครู และโรงเรียนมากขึ้น และการที่ สพฐ. นำศาสนาพุทธมาอ้างให้โรงเรียนทำอาหารมังสวิรัติให้เด็กนั้น ขอให้ สพฐ.ดูรายละเอียดและศึกษาอย่างรอบด้านว่าการกินมังสวิรัติ เป็นเรื่องของศาสนาพุทธจริงหรือไม่
อย่าลืมว่าปัจจุบันอาหารกลางวันของนักเรียนนั้น แทบจะไม่มีเนื้อสัตว์อยู่แล้ว อย่าซ้ำเติมเด็กไม่ให้เด็กกินเนื้อสัตว์อีกเลย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ