สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดข้อมูลสิทธิประกันสังคมสำหรับว่าที่คุณแม่ คุณพ่อ จะได้รับความคุ้มครองใน 3 กรณี มีรายละเอียดดังนี้
สิทธิคลอดบุตร
- เหมาจ่ายค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตน จะสามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นต่อบุตร 1 คน หากใช้สิทธิของแม่ที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิเพิ่มในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงาน
คำขวัญวันแม่แห่งชาติ 2567 พร้อมมัดรวมย้อนหลังทุกๆ ปี
“วันแม่ 2566” เปิดลายแทงที่เที่ยวฮิต วัดศักดิ์สิทธิ์-อุทยานฯ-ตลาดน้ำ
- เงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตร (สิทธิเฉพาะผู้ประกันตนฝ่ายหญิง) เหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เป็นระยะเวลา 90 วัน ทั้งนี้ใช้สิทธิ์ได้ 2 ครั้ง
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร
- ผู้ประกันตนมาตรา 38 และ 41 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
เอกสารยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง โดยยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (เช็กสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, เช็กสำนักงานประกันสังคมในส่วนภูมิภาค)
สิทธิฝากครรภ์
ประกันสังคมจะจ่ายค่าตรวจและฝากครรภ์ให้คุณแม่รวม 5 ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- อายุครรภ์ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
เอกสารยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (โดยถ้าคลอดลูกมากกว่า 1 คน แนบสำเนาสูติบัตรมาให้ครบถ้วน)
- หากคุณพ่อเป็นฝ่ายยื่นคำขอประกันสังคมค่าคลอดให้แนบทะเบียนสมรสมาด้วย ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้หนังสือรับรองกรณีผู้ประกันตนไม่มีทะเบียนสมรสแนบมาแทน
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่คลอดบุตร ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (เช็กสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, เช็กสำนักงานประกันสังคมในส่วนภูมิภาค)
สิทธิสงเคราะห์บุตร
เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท/เดือน/บุตร 1 คน สูงสุดคราวละ ไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
เงื่อนไขการหมดสิทธิ
- เมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ หรือบุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
เอกสารยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
- กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส/สำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน/สำเนาทะเบียนรับรองบุตร /สำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด และสำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทน ให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
วิธียื่นเรื่องรับเงินสงเคราะห์บุตร
สามารถยื่นเรื่องรับสิทธิได้ที่ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (เช็กสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, เช็กสำนักงานประกันสังคมในส่วนภูมิภาค) ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ
หากสนใจยื่นเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์ก็สามารถทำได้ผ่านระบบ "e-Self Service" มีขั้นตอนดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม คลิกที่นี่
- กด "เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน"
- เลือก "ระบบ e-Self service"
- เลือก "ขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม"
- เลือก "สงเคราะห์บุตร"
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วอัปโหลดเอกสารได้เลย
หรือขอรับประโยชน์ทดแทนผ่าน “พร้อมเพย์” ได้แล้ว เพียงแค่ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ลงทะเบียนผ่านธนาคารเจ้าของบัญชี โดยไม่จำเป็นต้องยื่นสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารกับสำนักงานประกันสังคม ส่วนผู้ที่ต้องการเปลี่ยนวิธีรับเงินผ่านพร้อมเพย์ ติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (เช็กสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, เช็กสำนักงานประกันสังคมในส่วนภูมิภาค)
“วันแม่” เข้าอุทยานแห่งชาติฟรี เช็กปฏิทินปีนี้มีอีกวันไหนบ้าง
“หม้อทอดไร้น้ำมัน” ใครว่าไม่จำเป็นต้องทำความสะอาด เสี่ยงเกิดโรค-ไฟไหม้