นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง และให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีหรือจัดให้ลูกจ้างหยุดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด
"ลูกจ้าง" โพสต์บ่น "นายจ้าง" ถูกเลิกจ้างโดยไม่รับค่าชดเชย ได้หรือไม่
บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้ ! ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ เช็กจังหวัดไหนได้สูงสุด
ทั้งนี้ กรมได้มอบหมายให้หน่วยปฏิบัติ ได้แก่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ดำเนินการชี้แจงกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่นายจ้าง/ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในข้อกฎหมายและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับ และนายจ้างจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องครอบคลุมทุกมิติ
นายนิยม กล่าวเพิ่มเติมต่อไปว่า หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการ/ลูกจ้าง มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทร. 0 2660 2069 – 71 หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546