ดีเดย์! 10 ม.ค.นี้ ใช้บัตรปชช.ดิจิทัล แทนบัตรตัวจริงได้ นำร่องใช้ในหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยก่อน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รัฐบาล ออกมาเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.66 ประชาชนคนไทยจะสามารถเริ่มใช้บัตรประชาชนดิจิทัล แทนบัตรประชาชนตัวจริงได้ โดยในช่วงแรกจะสามารถใช้ได้กับหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยก่อน ส่วนอนาคตขยายไปยังหน่วยงานเอกชน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล  รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ  เปิดเผยกับพีพีทีวีว่า ในปีนี้ ประชาชนจะสามารถเริ่มใช้บัตรประชาชนดิจิทัล แทนบัตรตัวจริงได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 10 ม.ค.นี้ โดยสาระสำคัญของพ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ การอำนวยความสะดวกใช้ประชาชนสามารถแสดงภาพบัตรประชาชนทางดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชันแทนการแสดงตนด้วยตัวบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิเสธการแสดงได้ 

เคี้ยวเม็ดมะละกอรักษามะเร็ง ติดอันดับ 1 ข่าวปลอมถูกแชร์มากสุดปี 65

สาวแต่งกายคล้ายชุดพยาบาล ดกแอลกอฮอล์ - โยกกระจายในที่ รพ. ชาวเน็ตติงหนักทำตัวไม่เหมาะสม

สำหรับขั้นตอนมีด้วยกัน 8 ขั้นตอน คือ เริ่มจากดาวน์โหลดแอปฯ D.DOPA ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ลงบนสมาร์ทโฟน จากนั้นนำบัตรประชาชนตัวจริง เข้าไปติดต่อลงทะเบียนที่สำนักทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง ทุกเขตในกรุงเทพมหานคร โดยในช่วงแรกต้องเดินทางไปลงทะเบียนที่สำนักทะเบียน แต่หากระบบสมบูรณ์มากขึ้น ในอนาคตก็จะสามารถลงทะเบียนแบบออนไลน์ได้  เมื่อเดินทางไปลงทะเบียนแล้ว ก็ต้องยอมรับในเงื่อนไขการใช้งาน สแกนคิวอาร์โค้ด ตั้งค่ารหัส 2 ครั้ง และยินยอมเพื่อให้มีการอัพโหลดข้อมูลลงระบบ ซึ่งหากลงทะเบียนสำเร็จระบบจะขึ้นข้อความว่า “การสมัครสำเร็จ”

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ยังบอกอีกว่า เมื่อหน่วยงานราชการเริ่มกลับมาให้บริการหลังหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ที่สำนักทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง ทุกเขตในกรุงเทพมหานคร ก็ถือว่าอยู่ช่วงของการเพิ่งเริ่มต้นระบบการลงทะเบียนบัตรประชาชนทางดิจิทัล หรือ Digital ID ด้วยแอปฯ D.DOPA จึงอาจจะต้องรอรายละเอียดอย่างเป็นทางการจากทาง กรมการปกครอง อีกครั้ง 

บัตรประชาชนดิจิทัล สามารถใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานที่เรียกตรวจแทนการใช้บัตรประชาชนตัวจริงได้ โดยในช่วงแรกจะสามารถใช้ได้กับหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยก่อน จากนั้นจะบูรณาการไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ และภาคเอกชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ 

ส่วนกรณีที่ประชาชนมีความกังวลว่า ถ้าใช้ระบบนี้แล้วจะเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูลทางโลกไซเบอร์หรือไม่  น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล ชี้แจงว่าที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ให้ความสำคัญในประเด็นนี้ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นทำระบบก็มีการทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ จึงอยากให้ประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลสามารถดูแลข้อมูลของประชาชนได้อย่างปลอดภัย

คอนเทนต์แนะนำ
เช็กสภาพอากาศช่วง 5-7 ม.ค. มีฝนเกิดขึ้นในระยะนี้
อยากใช้ ช้อปดีมีคืน ซื้อ e-book - สินค้า OTOP ทำอย่างไร?

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ