นายเสถียร เสถียรธรรมะ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด แถลงหลังบริษัทตกเป็นกระแสดราม่าเรื่องการเอาเปรียบพาร์ทเนอร์ เจ้าของร้านชำ โดยเฉพาะกรณีที่มีเจ้าของร้านใน จ.เชียงรายระบุว่าถูกบริษัทแจ้งความในคดียักยอกทรัพย์ในร้านของตัวเอง นายเสถียร ยืนยันว่า ทรัพย์สินในร้านเป็นของบริษัทพร้อมระบุว่ากรณีนี้ เจ้าของร้านได้เปิดร้านเมื่อ 14 ส.ค. 2565 หลังเปิดก็โอนเงินล่าช้าถึง 80 วัน
เจ้าของร้านชำงง! คอมฯเปิดระบบขายของเอง-บริษัทอ้างจิ้งจกเดิน
ผู้ใช้รถเฮ! “โออาร์-บางจาก” ลดเบนซิน 40 สต./ลิตร มีผลพรุ่งนี้
และในเดือน พ.ย. ทีมนับสต๊อกได้เข้าไปตรวจนับพบว่ามีสินค้าหายมากกว่าส่วนแบ่งรายได้ในเดือน พ.ย.ที่ร้านจะได้รับ บริษัทจึงนำรายได้หักกับค่าสินค้าที่สูญหายก่อนซึ่งก็ยังไม่พอชำระ ทำให้บริษัทไม่มีรายได้เหลือโอนเป็นปันผลให้ร้านในวันที่ 7 เดือนถัดไป
กระทั่ง 15 ธ.ค. บริษัทได้ส่งหนังสือไปถึงร้าน เพื่อทวงถามการชำระเงินของวันที่ 6-14 ธ.ค. และกำหนดให้ชำระภายใน 3 วัน เมื่อบริษัทไม่ได้รับเงิน จึงออกจดหมายวันที่ 22 ธันวาคมเพื่อแจ้งยกเลิกสัญญา
และกำหนดเข้าปิดร้าน 26 ธ.ค. ต่อมา คืนวันที่ 25 ธ.ค. เวลา 20.49 ทางร้านได้โอนยอดเงินค้างชำระเข้ามาที่บริษัทซึ่งเลยกำหนดแล้ว บริษัทจึงยืนยันจะปิดร้าน แต่ไม่สามารถเข้าเก็บสินค้าของบริษัทได้ เพราะทางร้านไม่อนุญาตให้พนักงานเข้าไป บริษัทจึงนัดปิดร้านอีกครั้งในวันที่ 7 ม.ค. แต่ยังขนย้ายสินค้าไม่ได้อีก จึงจำเป็นต้องแจ้งความในข้อหายักยอก
นอกจากนี้ ยังระบุว่าเห็นใจเจ้าของร้านรายนี้ที่ให้คนอื่นดูแลร้านให้ ซึ่งก็เปิดร้านบ้างและปิดร้านบ้างทำให้มีปัญหา และใช้เฟซโจมตีบริษัท
ซึ่งบริษัทได้ทำตามมาตรการ และที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกบอกเลิกสัญญาก็จะเข้ามาขอผ่อนผันกับบริษัทถึงร้อยละ 70-80 ซึ่งบริษัทก็ผ่อนผันให้ตลอด เพราะหากร้านปิดก็กระทบบริษัท ซึ่งตอนนี้ บริษัทยังขาดทุนอยู่ 3 พันล้าน
ส่วนประเด็นเรื่องของในร้านหายนายเสถียร ระบุว่า ได้รับข้อมูลจากเจ้าของร้านหลายรายว่า เกิดจากการหมุนเงินในร้านไม่ทัน เพราะบางรายมีหนี้นอกระบบ และมีการนำของในร้านไปขายโดยไม่ผ่านระบบของร้าน ยืนยันบริษัททำธุรกิจด้วยแนวคิดพลิกชีวิตโชว์ห่วยให้รวยได้
ขณะที่วันนี้ น.ส.พรรณทิพา ศรีโชติ เจ้าของร้านชำ เข้าไปให้ปากและปฏิเสธข้อกล่าวหากับตำรวจ สภ.ป่าแดด พร้อมให้สัมภาษณ์โต้คำชี้แจงของบริษัท โดยระบุสาเหตุที่ส่งเงินล่าช้าเพราะมีปัญหาเรื่องสินค้าหายจำนวนมากและเมื่อโอนล่าช้าก็ถูกปรับถึงวันละ 2,000 บาท รวม 160,000 บาท ซึ่งถือว่าเกินความจริงซึ่งสินค้าที่หายไปเกิดจากเครื่องเช็คและพนักงานของบริษัท ที่ตรวจนับไม่ตรงกัน
พร้อมงัดคลิปหลักฐาน เปิดคอมฯระบบการขาย ที่เผยให้เห็นว่า ที่ผ่านมาเคยส่งเคลมสินค้าที่เสียหาย หรือหมดอายุ แต่บริษัทไม่เคยอนุมัติตามที่เคยแจ้ง และหลังปิดระบบการขายแล้ว กลับยังส่งสินค้าขนมปังที่หมดอายุง่ายและไอศรีมจำนวนมากมาให้อีก
ด้านนายสวาท ขาวฟอง ผู้ค้าอีกราย บอกว่า จำเป็นต้องฝืนขายต่อ เพราะไม่อยากให้ลูกสาวที่เพิ่งรับราชการใหม่ ต้องโดนคดียักยอกทรัพย์อีกราย เนื่องจากใช้ชื่อลูกสาวเปิดร้าน ซึ่งหลังเปิดมาเกือบ 1 ปีเต็ม ก็ประสบสินค้าหายเช่นกัน ถึง 3 ครั้งรวมเป็นเงินนับแสนบาท จนไม่รู้จะหาเงินจากไหนมาชดใช้แล้ว จึงอยากขอความเป็นธรรมด้วย
ขณะที่เจ้าของร้านชำรายอื่นที่รวมตัวในกลุ่มไลน์กว่า 400 คน บางส่วนให้ข้อมูลว่า กู้หนี้นอกระบบมาจริงเพื่อหวังลงทุนใน
ธุรกิจนี้ แต่ก็ประสบปัญหาหลายอย่าง ถูกยึดเงินประกันสินค้า 2 แสนบาทอย่างไม่เป็นธรรม ถูกยึดของในร้านจนหลายคนถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องขายรถ ขายนา จากที่เป็นเจ้าของร้านก็ต้องไปทำงานรับจ้าง บางคนถึงขั้นบ่นฆ่าตัวตาย