พล.ต.ต. กัมพล ลีลาประภาภรณ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ลงนามในคำสั่งเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ด้วยปรากฏภาพจากสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 ข้อความดังนี้ "ข้อความในกลุ่มไกด์ กรณีลูกทัวร์ถูกจับบุหรี่ไฟฟ้า ที่พัทยา ถูกเรียกคำปรับ 6 หมื่นบาท นักท่องเที่ยว ต่อรองเหลือ 3 หมื่นบาท เหตุการณ์เกิดที่พัทยา ประมาณวันที่ 25- 28 ม.ค. 2566 ทำให้เกิดความสียหายต่อภาพลักษณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผบ.ตร. ขอโทษปมตร.รีดไถดาราไต้หวัน
ชุดสืบสวนนครบาล เตรียมบินสอบปากคำ “ดาราไต้หวัน” ปมถูกรีดเงิน
ดังนั้น เพื่อให้ปรากฏข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 117 จึงแต่งตั้งคณะกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วยรายชื่อดังต่อไปนี้
1.พ.ต.อ.โสฬส เอี่ยมสอาด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เป็นประธานกรรมการ
2. พ.ต.อ. สมพล นาคขำพันธุ์ ผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เป็นกรรมการ
3. พ.ต.ท. ทิทักษ์ เนินแสง สารวัตร(สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองทัทยา เป็นกรรมการ
4. ร.ต.อ. ทนงศักดิ์ อินผดุง รองสารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา เป็นกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ปรากฎข้อเท็จจริง โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดใน กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2556 และหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 21เม.ย. 2565 เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเรื่องร้องเรียนข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการแสะลูกจ้างในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติจนแล้วเสร็จ พร้อมเสนอสำนวนการตรวจสอบข้อเท็จริงให้ ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี พิจารณาภายใน 3 วัน
อนึ่ง ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่ากรณีมีมูลกระทำผิดวินัยหรือกระทำผิดกฎหมายในเรื่องอื่น นอกจากที่ระบุในคำสั่งนี้ หรือ กรณีที่การตรวจสอบพาดพิงไปถึงข้าราชการตำรวจผู้อื่นและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพิจารณาในเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำในเรื่องที่ตรวจสอบอยู่ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานสรุปผลมาโดยด่วนเพื่อพิจารณาต่อไป