ผลพวง "วาเลนไทน์" ถุงยางอนามัย 1 กล่องก็ทำโลกร้อนขึ้นได้ หากเลือกไม่ดี

โดย PPTV Online

เผยแพร่

วาเลนไทน์นี้เลือก "ถุงยางอนามัย" ให้ดีมีคุณภาพนอกจากป้องกันปัญหาทางเพศ โรคติดต่อ ท้องไม่พร้อม แถมช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

SEX กับวันวาเลนไทน์มักจะเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงคู่กันเสมอ  ซึ่งการมี SEX โดยการใช้ถุงยางอนามัย เป็นทางเลือกที่ป้องกันปัญหาต่างๆ ตามมาได้ดีที่สุด เช่น โรคติดต่อ ท้องไม่พร้อม ฯลฯ  และการเลือกถุงยางอนามัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

ไม่ได้สวยงามเสมอไป! รู้เท่าทัน “ความรัก” ในวันวาเลนไทน์นี้

อยากให้สังคมไทย "ยอมรับ" เรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน

หากย้อนดูสถิติการใช้ถุงยางอนามัยในปี 2562 ของคนไทยพบว่า  มีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งยังมีอัตราต่ำมาก โดยเฉพาะการใช้ถุงยางอนามัยกับแฟนและคนรัก มีอัตราไม่ถึง 40%

ขณะที่สถิติการใช้ถุงยางอนามัยของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 230 ล้านชิ้นต่อปี และส่วนใหญ่มักถูกกำจัดทิ้งด้วยวิธีแบบฝังกลบ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการผลิตนี้เองที่นำไปสู่ "ก๊าซเรือนกระจก" หากเป็นวัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตามข้อมูล บริษัทผู้ผลิตได้ทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ พบว่า ถุงยางอนามัย 1 กล่อง (3 ชิ้น) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 55.8 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ตัวอย่างเช่น
100 คู่รักในคืนวันวาเลนไทน์ จะปล่อย CO2 เท่าไหร่ ?
ถุงยางอนามัย 1 กล่อง (3 ชิ้น) มีปริมาณการปล่อย CO2 = 55.8 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
สมมุติฐาน: ในคืนวันวาเลนไทน์มีคู่รัก ใช้ถุงยางอนามัย 100 กล่อง/คู่
จะมีปริมาณการปล่อย CO2 = 5.58 กิโลกรัมกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

มีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่นำถุงยางอนามัยที่ผลิตจากวัสดุไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไปทำลายด้วยวิธีฝังกลบ

แต่ปัจจุบันพบว่า บริษัทผลิตถุงยางอนามัยให้ความสำคัญ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบไปจนถึงการกำจัดซาก โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด นำความร้อนที่เหลือทิ้งจากการอบกลับมาใช้ใหม่และใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและของเสีย ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าให้ตรงตามความต้องการแล้วสิ่งที่อยากให้พิจารณาอีกอย่างคือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด หรือเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นกลไกทางการตลาด ในการกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้า ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความต้องการของผู้บริโภคด้วย

ข้อมูลจาก : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน

 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล คุณสนใจหรือไม่?

ไมนซ์

VS

บาเยิร์น มิวนิค

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ