เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 พลตำรวจโท ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ลงนามในคำสั่งตำรวจภูธรภาค 7 ที่ 615/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยระบุว่า ด้วยปรากฎข่าวทางสื่อต่าง ๆ กรณีเมื่อคืนวันที่ 6 กันยายน 2566 เกิดเหตุ นายธนัญชัย หรือ หน่อง หมั่นมาก ใช้อาวุธปืนยิง พันตำรวจตรี ศิวกร สายบัว สารวัตรกองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวง เสียชีวิต และ พันตำรวจโท วศิน พันปี รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวงได้รับบาดเจ็บ
สั่งย้าย 25 ตร.เอี่ยวงานเลี้ยงกำนันนก ผบ.ตร.ย้ำหากผิดดำเนินการเด็ดขาด
บิ๊กโจ๊ก เผย ตร.ร่วมงานเลี้ยงให้การไม่ตรงกัน มั่นใจหลักฐาน"กำนันนก"ดิ้นไม่หลุด
โดยเกิดเหตุขณะที่ร่วมงานเลี้ยงสังสรค์ภายในบ้านพักของ นายประวีณ จันทร์คล้าย หรือ นก กำนันตำบลตาก้อง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้ที่มาร่วมงานจำนวนมาก
หลังก่อเหตุ นายธนัญชัย ได้หลบหนีไป และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอศาลออกหมายจับ นายประวีณ และ นายธนัญชัย เพื่อติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อมาวันที่ 7 กันยายน 2566 นายประวีณ ได้เข้ามอบตัวที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม
และในวันที่ 8 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปติดตามจับกุมตัว นายธนัญชัย ซึ่งหลบหนีไปที่จังหวัดกาญจนบุรี และเกิดการยิงต่อสู้กันทำให้ นายธนัญชัยเสียชีวิต
จากเหตุการณ์ยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อหน้าผู้ที่มาร่วมงาน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์จำนวนมาก ซึ่งมีเหตุสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์มิได้เข้าทำการระงับเหตุหรือไม่ เพราะเหตุใดจึงไม่จับกุม นายธนัญชัย ทำให้ นายธนัญชัย หลบหนีไปได้ รวมทั้งไม่แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นในทันทีเพื่อให้เจ้ำหน้าที่ตำรวจท้องที่ดำเนินการ และไปรักษาที่เกิดเหตุตลอดจนพยานหลักฐานสำคัญเพื่อดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุ จนทำให้มีการทำลายพยานหลักฐาน โดยในเบื้องต้นพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย
ซึ่งการกระทำดังกล่าวของ นายธนัญชัย เป็นการกระทำที่อุกอาจ สะเทือนขวัญ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง เป็นที่สนใจของประชาชน และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจภูธรภาค 7 เป็นอย่างมาก
เพื่อให้ได้รายละเอียด ข้อเท็จจริง และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และเป็นการพิจารณาเบื้องต้นว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 รายใดไปร่วมงาน และอยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ เหตุใดจึงไม่ทำการระงับเหตุ หรือจับกุม นายธนัญชัย ตามอำนาจ หน้าที่ และมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือไม่ อย่างไร
อาศัยอำนาจตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยข้าราชการตำรวจดังต่อไปนี้
- พลตำรวจตรี สิทธิชัย โล่กันภัย รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นประธานกรรมการ
- พันตำรวจเอก ปรัชญา ทองน้ำวน รองผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการ
- พันตำรวจเอก สุภาพ วัยนิพิฐพงษ์ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการ
- พันตำรวจเอก ธนวิทย์ กาญจนนฤนาท ผู้กำกับการ (กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี) กองบังคับการกฎหมายและคดีตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการ
- พันตำรวจเอก สมเกียรติ จาคีไพบูลย์ ผู้กำกับการ (กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี) กองบังคับการกฎหมายและคดีตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการ
- พันตำรวจเอก บุญพา ปาระแม ผู้กำกับการ (กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี) กองบังคับการกฎหมายและคดีตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการ
- ร้อยตำรวจเอก หญิง สุทธิพร กล่อมบรรจงรองสารวัตร(กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี) กองบังคับการกฎหมายและคดีตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการและเลขานุการ
- ร้อยตำรวจเอก หญิง พรรณราย พยาบาล รองสารวัตรฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการกฎหมายและคดีตำรวจภูธรภาค 7 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง โดยให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามวิธีการและขั้นตอนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ หากพบว่าเป็นการกระทำความผิดอาญาหรือ กระทำผิดวินัยให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด่วน! วิสามัญ “หน่อง” มือยิงสารวัตรทางหลวง หลังคนร้ายต่อสู้หวังหลบหนี
เลื่อนจ่าย “เงินอุดหนุนบุตร” ประจำเดือนกันยายน 2566