พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน กรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า " การค้นนั้น!! ........ สำคัญไฉน?? "
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เรื่องการค้น การจับ การสืบสวนสอบสวนนั้น เมื่อมีประเด็นข้อสงสัย ถกเถียงกันว่าเป็นการปฏิบัติที่ชอบ หรือ มิชอบ เช่น
- จะไปค้นบ้านใคร จำเป็นต้องระบุชื่อเจ้าบ้านด้วย หรือ ระบุเพียงเลขที่บ้าน?
- หัวหน้าผู้ตรวจค้นต้องเป็นระดับใด??
- เจ้าของหรือผู้ครอบครองบ้านจะปฏิเสธ หรือ ประวิงเวลาในการเข้าปฏิบัติการตามหมายค้นได้หรือไม่???
"อัจฉริยะ" ลั่น มีหลักฐาน"บิ๊กโจ๊ก"เกี่ยวเว็บพนัน
คุมตัว 6 ตำรวจลูกน้อง “บิ๊กโจ๊ก”ฝากขัง พร้อมค้านประกัน
การค้นในที่รโหฐานนั้น จะต้องมีคำสั่ง หรือหมายค้น เพื่อพบและยึดสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือเพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (มาตรา 69 และ มาตรา 92)
ในการยื่นคำร้องขอหมายค้นต่อศาล ผู้ยื่นจะต้องมีเหตุแห่งความสงสัย และพยานหลักฐานแสดงต่อศาลว่ามีสิ่งของดังกล่าวข้างต้น หรือ บุคคลที่มีหมายให้จับซุกซ่อน ตัวอยู่ในนั้น โดยศาลจะไต่สวนคำร้องจนสิ้นสงสัยก่อนที่ออกหมายค้นให้ ซึ่งหมายค้นที่ออกให้จะให้ความสำคัญกับสถานที่ๆ โดยไม่ได้โฟกัสไปที่เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองสถานที่ที่จะค้น
หัวหน้าผู้ตรวจค้น ต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสาม หรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไป จะเป็นผู้นำตรวจค้นได้ตามกฎหมาย เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ที่จะเข้าตรวจค้นจะปฏิเสธไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดมิได้
กระผม จึงขอถือโอกาสนี้ชี้แจงสื่อและสังคมในประเด็นข้างต้นมาด้วยความเป็นห่วงกับการที่มีการให้ข่าวแล้วทำให้สังคมไขว้เขว โดยเฉพาะข้าราชการตำรวจ ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และที่สำคัญจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค และโดยสุจริต
พล.ต.ท. อำนวย นิ่มมะโน ยังทิ้งท้ายว่า "กัมมุนาวัตตติโลโก" สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
"ผู้การฯแต้ม" ลั่น ห่วง"บิ๊กโจ๊ก"ถ้าเส้นทางการเงินชัด
เปิดประวัติ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ดาวรุ่งพุ่งแรงสู่หนทางวิบากเอี่ยวเว็บพนัน
โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 26 ก.ย. 66