นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ผบก.ปทส.) เปิดเผยผลการตรวจค้นฟาร์มต้องสงสัยในจังหวัดนครปฐม หลังพบเชื่อมโยงกับการลักลอบนำเข้ากอริลลาจากไนจีเรียมายังประเทศไทย โดยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้รับการประสานจากสำนักงานไซเตสประเทศตุรกี
แจ้งว่าเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอิสตันบูลตรวจพบลูกกอริลลาถูกซุกซ่อนมากับสินค้าที่ระบุว่าเป็นกระต่าย จำนวน 50 ตัว บรรจุใน 2 ลัง โดยมีเอกสารระบุปลายทางส่งมายังบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ขอหมายค้นศาลจังหวัดนครปฐมเพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว
นายอรรถพล เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้รับการประสานจากสำนักงานไซเตสประเทศตุรกี แจ้งว่าเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอิสตันบูลตรวจพบลูกกอริลลาถูกซุกซ่อนมากับสินค้าที่ระบุว่าเป็นกระต่าย จำนวน 50 ตัว บรรจุใน 2 ลัง โดยมีเอกสารระบุปลายทางส่งมายังบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ขอหมายค้นศาลจังหวัดนครปฐมเพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว
พล.ต.ต.วัชรินทร์ กล่าวว่า เวลา 13.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ปทส. ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบริษัทเป้าหมาย พบนายศิริวัฒน์ (สงวนนามสกุล) เจ้าของฟาร์ม ยอมรับว่ารับจ้างนำเข้ากระต่ายจากชาวต่างชาติโดยได้รับค่าจ้างตัวละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 150,000 บาท แต่ปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่องลูกกอริลลาแต่อย่างใด
แบงค์ เลสเตอร์ เสียชีวิตหลังถูกจ้างดื่มเหล้าจำนวนมาก
รวมไว้ที่นี่ "ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ฟรี" ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
ศาลอาญา ยกฟ้อง “ดีเจแมน-ใบเตย” คดี Forex-3D เตรียมปล่อยตัวค่ำวันนี้!
จากการตรวจค้นภายในฟาร์ม เจ้าหน้าที่พบสัตว์ป่าควบคุมที่มีใบอนุญาตครอบครองหลายชนิด ประกอบด้วย นกกระตั้วโมลัคคัน นกกระตั้วดำ นกเอี้ยงบาหลี และนกแก้วเทาแอฟริกัน ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงนกกระตั้วโมลัคคัน 1 ตัว และนกกระตั้วดำ 2 ตัวเท่านั้น ส่วนที่เหลือตายหมดแล้ว
เจ้าหน้าที่ได้ยึดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาไว้เพื่อตรวจสอบหลักฐานและขยายผล โดยจะเร่งสืบสวนเครือข่ายการลักลอบค้าสัตว์ป่าข้ามชาติต่อไป เนื่องจากพบว่าคดีนี้มีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายระดับนานาชาติ ที่มีเส้นทางเริ่มต้นจากไนจีเรีย ผ่านตุรกี และมีจุดหมายปลายทางที่ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นคดีสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง