เปิดภาพ “ดาวอังคาร” ช่วงใกล้โลกที่สุด

โดย PPTV Online

เผยแพร่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ได้บันทึกภาพดาวอังคารช่วงใกล้โลกที่สุด มองเห็นพื้นผิวของดาวอังคาร เมฆปกคลุมภูเขาไฟอีลิเซียม และน้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วเหนือ

ภาพ "ดาวอังคาร" ช่วงใกล้โลกที่สุด บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ​ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา วันที่ 12 มกราคม 2568 ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร มองเห็นพื้นผิวของดาวอังคาร รวมถึงเมฆที่ปกคลุม "ภูเขาไฟอีลิเซียม" (Elysium Mons) และน้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วเหนือได้อย่างชัดเจน

คอนเทนต์แนะนำ
ยานสำรวจนาซา พบหลักฐานจุลินทรีย์โบราณ บนดาวอังคาร
นักวิทย์พบ ดาวอังคารอาจมีอิทธิพลต่อมหาสมุทรบนโลกของเรา!?

ดาวอังคาร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)
ดาวอังคารช่วงใกล้โลกที่สุด

หลังจากนี้ ดาวอังคารจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงนี้จึงจะยังคงเห็นดาวอังคารปรากฏสว่างเด่นเป็นประกายสีส้มแดงตลอดทั้งคืน เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเช้าวันถัดไป นับเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การชมดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่น ๆ อย่างดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี

ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน และจะโคจรเข้าใกล้โลกอีกครั้งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2570

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ