ผู้เสียหาย คือ น.ส.ณัชชาภรณ์ เล่าว่า คืนวันที่ 17 ธ.ค. 2567 เธอได้รับ SMS จากธนาคารกสิกรไทยแจ้งว่า บัญชีถูกระงับการใช้งานตาม พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ตอนแรกคิดว่าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ก็ไม่ได้สนใจอะไร แต่พอวันรุ่งขึ้นกลับได้รับ SMS แจ้งเตือนจากทุกธนาคาร ทำให้ต้องรีบไปตรวจสอบที่สาขาใกล้บ้าน เมื่อไปถึงธนาคารพบว่าถูกอายัดจริง เหตุเพราะมีผู้เสียหายไปแจ้งความที่ สภ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ว่า บัญชีของเธอได้ฉ้อโกงสินค้าผู้เสียหายไป ตำรวจจึงแจ้งอายัดบัญชี
น.ส.ณัชชาภรณ์ จึงติดต่อไปยังตำรวจ จึงได้ทราบว่าเกิดความผิดพลาด เนื่องจากผู้เสียหายได้มาแจ้งให้อายัดบัญชีเธอจึงติดต่อไปยังผู้ที่ไปแจ้งความอายัดบัญชี ได้ความว่า ได้แจ้งอายัดบัญชี ของนางสุณิศา ไม่ได้แจ้งอายัดบัญชีของเธอ แต่ตำรวจน่าจะคีย์ตัวเลขผิด ระหว่างเลข ( 7 ) กับเลข ( 4 ) ซึ่งต่างกันเพียงตัวเลขเดียว ทำให้บัญชีของเธอถูกอายัด ทั้ง 8 บัญชี 7 ธนาคาร
เธอพยายามติดต่อตำรวจ ที่ สภ.ปากช่อง อยู่ทุกวัน แต่ตำรวจอ้างว่า“ติด 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่” ต้องรอหลังปีใหม่จะปลดอายัด และพึ่งมาปลดล็อกให้บัญชีเดียวเมื่อ 20 ม.ค. 2568
ตอนนี้ก็เหลืออีก 7 บัญชีที่ยังถูกอายัดอยู่ และที่น่าช้ำใจอีกคือ เธอทำเรื่องกู้สินเชื่อไว้กับธนาคาร ต้องถูกตัดสิทธิทั้งหมด เพราะบัญชีกลายเป็นบัญชีสีเทาเข้มหรือบัญชีม้า ส่งผลให้ชีวิตพลิกผันในชั่วข้ามคืน ไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรได้เลย ต้องขอยืมพ่อแม่กิน ต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้ประทังชีวิตไปก่อน
สิ่งที่สงสัยคือ ทำไมตำรวจกับธนาคารไม่ตรวจสอบตัวเลขกับชื่อให้ดีก่อนจึงค่อยเพราะอายัดบัญชี ถึงตัวเลขจะเหมือนกัน แต่ชื่อก็ไม่เหมือนกัน