กรมอุทยานฯ ยัน ไม่ปลูก “ซากุระ” ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรมอุทยานฯ แจงดรามา ยืนยันไม่ปลูกต้นซากุระญี่ปุ่น ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างแน่นอน

วันที่ 28 ม.ค. 2568 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เผยว่า การนำต้นซากุระเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยญี่ปุ่นมอบต้นซากุระจำนวน 1,000 ต้น เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมด้านสภาพอากาศ โดยนำมาปลูกในพื้นที่สูงของไทยที่มีอากาศเย็นและเหมาะสม เบื้องต้นจะนำเข้ามาทดลองปลูก 200 ต้น

คอนเทนต์แนะนำ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 พบกลุ่มผู้สูงอายุ 2 แสนรายไม่ได้รับเงิน รีบผูกพร้อมเพย์
"iOS 18.3" อัปเดตแล้ว! แก้บั๊กทั่วไป อัปความสามารถ Visual Intelligence

ซากุระ Freepik/montypeter
ต้นซากุระ

สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการ ทางกรมอุทยานฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและขับเคลื่อนการปลูกต้นซากุระ ในที่ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567 พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการปลูกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามนโยบายควบคุมและจัดการพืชต่างถิ่น (Exotic Species) ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกันการกระทบต่อระบบนิเวศธรรมชาติ โดยพื้นที่ที่กำหนดสำหรับการปลูกและอนุบาลต้นซากุระ มีดังนี้

            • ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

            • ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง)

            • สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่

            • บริเวณชุมชนหมู่บ้านม้งดอยปุย (ยังอยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสม)

            • โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ (สำหรับอนุบาลต้นกล้า)

ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การปลูกซากุระต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ เนื่องจากซากุระต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นและแสงแดดเพียงพอ จึงต้องปลูกในพื้นที่เปิดโล่งที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า 1,000 เมตร

กรมอุทยานฯ ยืนยันว่าการดำเนินการจะโปร่งใส คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และขออภัยหากการสื่อสารที่ผ่านมาอาจสร้างความกังวลใจแก่ประชาชน

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ