อุตุฯ อัปเดตข้อมูลขนาดแผ่นดินไหวอยู่ที่ 8.2 เกิดอาฟเตอร์ช็อก เวลา 13.32 น.

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรมอุตุฯ อัปเดตข้อมูลขนาดแผ่นดินไหวอยู่ที่ 8.2 เกิดอาฟเตอร์ช็อก ขนาด 7.1 เวลา 13.32 น. หลังจากนั้น ยังไม่มีอาฟเตอร์ช็อกใดๆเกิดขึ้น

ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุแผ่นดินไหว เวลา 13.20 น. วันที่ 28 มี.ค. จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ขนาด 7.4 ความลึก 10 กิโลเมตร นั้น

ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ได้อัปเดตข้อมูลขนาดแผ่นดินไหวอยู่ที่ 8.2  หลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้ว เกิดอาฟเตอร์ช็อก ขนาด 7.1 เมื่อเวลา 13.32 น. หลังจากนั้นยังไม่มีอาฟเตอร์ช็อกใดๆเกิดขึ้น และยังไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ หากมีอาฟเตอร์ช็อก เกิดขึ้นเมื่อไหร่ กรมอุตุนิยมวิทยา จะแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะๆขอให้ประชาชนระมัดระวังกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

คอนเทนต์แนะนำ
แผ่นดินไหวรุนแรง สั่นสะเทือนถึงไทย
สัญญาณมือถือค่ายดังล่ม! ผลกระทบ "แผ่นดินไหว" ขนาด 7.7 เมียนมา

แผ่นดินไหว ช่างภาพพีพีทีวี
แผ่นดินไหว

กรมอุตุนิยมวิทยายังระบุว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมียนมา ทำให้เกิดแรงสั่นไหวที่รับรู้ได้ทั้งประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลาง ขณะที่กรุงเทพฯ และโดยรอบมีลักษณะดินอ่อน ทำให้ได้รับผลกระทบ ขณะที่ตึกสูงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ โดยเฉพาะตึกที่ไม่แข็งแรงหรือกำลังก่อสร้าง

กรมอุตุฯ ระบุว่า สิ่งที่ต้องระวังในลำดับถัดไป คือเฝ้าระวังติดตามอาฟเตอร์ช็อก อาจยังมีขนาดใหญ่ อาจกระทบอาคาร ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ออกไปอยู่ข้างนอกพื้นที่กลางแจ้ง จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย ส่วนกรณีความเสี่ยงเกิดสึนามิ เนื่องจากเกิดบนบก ขอยืนยันว่าไม่มีความเสี่ยงเกิดสึนามิ ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก กรมอุตุฯ จะรายงานความคืบหน้าเป็นระยะ

กรมอุตุนิยมวิทยาขอแจ้งให้ทราบว่า ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐานสากล ได้แก่ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็จะสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนหน่วยงานหลักได้ทันที

ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยพบว่ามีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวได้น้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น สิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว คือการติดตามข่าวสารด้านภัยธรรมชาติอยู่เสมอ ๆ เพื่อรับข้อมูลได้รวดเร็ว หากเกิดเหตุขึ้นก็จะสามารถเตรียมตัวอพยพได้ทันท่วงที

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะหลัก “หมอบ ป้อง เกาะ” วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

  • หมอบใต้โต๊ะหรือจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง
  • ใช้มือหรือแขนป้องกันศีรษะ
  • เกาะโต๊ะหรือที่กำบัง และเคลื่อนตัวไปตามแรงสั่นสะเทือน

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ