ประกาศค่าโอที รปภ. นายจ้างจ่าย 1.25 เท่าหลังทำงาน 8 ชม. - วันหยุด 2.5 เท่า

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ราชกิจจาฯ ประกาศกฎใหม่ รปภ. ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง ต้องได้รับค่าโอที 1.25 เท่าหลังทำงาน 8 ชม. - 2.5 เท่าในวันหยุด มีผลบังคับใช้ 24 เมษายน 2569

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดค่าล่วงเวลาค่าตอบแทนการทำงานที่เกินวันละแปดชั่วโมง ในงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง พ.ศ. 2568

สำหรับกฎกระทรวงฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ภายใน 365 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะตรงกับวันที่ 24 เมษายน 2569 และมีผลให้ ลูกจ้างที่มีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สิน อาทิ พนักงานรักษาความปลอดภัย จะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา หรือ โอที ในอัตราใหม่ ดังนี้

คอนเทนต์แนะนำ
อุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 3 เช็ก 28 จังหวัดได้รับผลกระทบพรุ่งนี้!
สรุปข้อบัญญัติใหม่ กทม. ควบคุมสัตว์เลี้ยง ฝ่าฝืนอาจมีโทษ!
แค้นถูกไล่ออก? "พยาน" เเฉ สตง.โกงสร้างตึก

 

ประกาศกฎกระทรวง กำหนดค่าล่วงเวลาและค่าตอบแทนการทำงานที่เกินวันละแปดชัวโมง ในงานเฝ้าดูแลสถานที หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง พ.ศ. 2568 ราชกิจจานุเบกษา
ประกาศกฎกระทรวง กำหนดค่าล่วงเวลาและค่าตอบแทนการทำงานที่เกินวันละแปดชัวโมง ในงานเฝ้าดูแลสถานที หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง พ.ศ. 2568

  • ค่าล่วงเวลาในวันทำงานไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
  • ค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

กรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินวันละ 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์แล้วไม่เกิน 48 ชั่วโมง สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนการทำงานในวันทำงานไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง และจ่ายค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เป็นการสมควรยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 เพื่อกำหนดให้ลูกจ้างในงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้างตามกฎกฎกระทรวงดังกล่าว

และเป็นงานบริการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2551 ได้รับค่าล่วงเวลาและค่าตอบแทนสำหรับการทำงานที่เกินวันละ 8 ชั่วโมงตามอัตราที่กำหนดอันเป็นการคุ้มครองลูกจ้างในงานดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้งานอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจะกำหนดในกฎกระทรวงให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ