ชาวเน็ตถล่มเดือด ผลศึกษา สธ. พบ “ซิโนแวค” ป้องกันโควิดอัลฟา 90% เดลตา 75%


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ของรัฐบาล ได้โพสต์เผยผลศึกษา “ซิโนแวค” จาก 4 แหล่งในประเทศไทย พบสามารถป้องกันอัลฟา 90% เดลตา 75% ขณะที่โลกโซเชียลต่างเข้าไปคอมเมนท์วิพากษ์วิจารณ์อย่าวหนัก

งานวิจัยใหม่ของไทยเองชี้ “ซิโนแวค” ป้องกันโควิด-19 เดลตาได้น้อยมาก

เอกสารหลุดของจริง ฉีดไฟเซอร์เข็ม 3 บุคลากรการแพทย์ กลัวโป๊ะแตก "ซิโนแวค" เอาไม่อยู่ "อนุทิน" ชี้แค่ค...

สื่อท้องถิ่นเผย นักวิจัยวัคซีนซิโนแวคในอินโดนีเซียเสียชีวิตจากโควิด-19

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ของรัฐบาล โพสต์ผลศึกษาของวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค” จากทั้ง 4 แหล่ง พบว่ามีประสิทธิผลดี

โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยรายงานการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวค จากสถานการณ์จริงที่ได้นำมาฉีดให้กับคนไทยใน 4 แหล่ง มีดังนี้

จ.ภูเก็ต ได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ช่วงเดือนเม.ย. - พ.ค. 2564 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ เพียง 124 ราย หากเทียบกันระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.7%

จ.สมุทรสาคร ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กว่า 500 ราย ช่วงเดือนเม.ย. 2564 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.5%

จ.เชียงราย ได้ศึกษากรณีการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือนมิ.ย. 2564 กว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 ราย

 

นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 88.8% และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ 84.9%

สำหรับ บุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 83.8%

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุขที่ติดเชื้อทั้งประเทศ และข้อมูลการรับวัคซีน ตั้งแต่ 1 พ.ค. - 30 มิ.ย. 2564  พบว่า ประสิทธิผลอยู่ที่ 71%

โดยช่วงเดือนพ.ค. 2564 ที่พบการระบาดเป็นสายพันธุ์อัลฟา ประสิทธิผลอยู่ที่ 75% และช่วงเดือนมิ.ย. 2564 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาแทนที่อัลฟาประสิทธิผลอยู่ที่ประมาณ 20 - 40%

ดังนั้น หากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันติดเชื้อ จากสายพันธุ์อัลฟาได้ประมาณร้อยละ 90 และป้องกันปอดอักเสบได้ร้อยละ 85 ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ถือว่ายังคงที่คือร้อยละ 75 ซึ่งไม่ต่างจากเดิมที่ร้อยละ 71

สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนนั้น จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าจะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น

 

ทั้งนี้ในเวลาต่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็น 3,100 คอมเมนต์ และแชร์ออกไปกว่า 4,800 ครั้ง โดยคนส่วนใหญ่ มองว่า ผลการศึกษาดังกล่าวไม่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นวิธีการทดสอบที่ไม่ถูกต้อง เช่นบางรายระบุว่า

 

“การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนเค้าทำแบบนี้นี่เอง แสดงว่าที่ผมเรียนมา ที่ต้องมีวัคซีนหลอกนู่นนี่นั้นผิดหมดเลย สงสัยผมต้องคืนปริญญาให้แก่มหาวิทยาลัยแล้วละ”

 

“ถูกต้องครับ เรามาถูกทางกันแล้วครับท่านผู้นำ วิเคราะห์ได้เฉียบแหลมจริงๆครับ หลักการณ์แน่นมากครับ บุคลากรในประเทศจะมีบ้านกันทุกคนในไม่ช้า”

 

“ควรมีข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตหรือผู้ที่ป่วยหนัก มีกี่คนที่ได้รับวัคซีน กี่คนที่ไม่ได้รับวัคซีน น่าจะเป็นข้อมูลที่ดีกว่าครับ”

 

“รับรองผลการศึกษาโดย สธ. แค่นี้ก็หมดราคาแล้ว เวลาที่ผ่านมามันพิสูจน์การกระทำหมดแล้ว”

 

“การหาประสิทธิผลป้องกันติดเชื้อในภูเก้ต กะ สมุทรสาคร หาอย่างไรครับ”

 

“ไม่น่าเชื่อถือเลยครับ ข้อมูลจากกระทรวงนี้”

 

“นี่คือการวัดภูมิระยะยาวรึเปล่า หรือแค่วัดภูมิในช่วงแรกๆที่ฉีด”

 

“แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ยื่น 604 รายชื่อ ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งหาวัคซีนชนิด mRNA และ Protein subunit หลังสูญเสียบุคลากรด้านหน้าเพิ่มมากขึ้น”

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ