จากกรณีจากกรณี นางสาวสรารัตน์ หรือ “แอม” ผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งตั้งครรภ์ได้ 26 สัปดาห์ แท้งลูกในครรภ์จากภาวะครรภ์เป็นพิษนั้น
ล่าสุดนายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยออกมาวิเคราะห์ คดีแอมเปิดข้อกฎหมายมาตรา 217 ระบุว่า หญิงท้องประหารไม่ได้ ต้องรอพ้น 3 ปี นับตั้งแต่วันคลอด แต่หลังเกิดกรณีครรภ์เป็นพิษที่ทำให้แอมต้องยุติการตั้งครรภ์ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แอม ต้องกลับมารับโทษเหมือนบุคคลทั่วไป
โดยหากทนายความจะอ้างว่าแอมเข้าสู่กระบวนการให้ขณะตั้งครรภ์ก็ไม่ได้ เพราะต้องไปดูจุดประสงค์ของกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองเด็ก ซึ่งเกิดมาโดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำผิด
ทนายพัช จี้หาสาเหตุแอมแท้งลูกในเรือนจำ - ยายแด้ เปิดใจ
ครอบครัว “แอม” คาใจ! จ่อยื่นหนังสือชันสูตรร่างทารก
อีกประเด็นน่าสนใจคือกรณีที่ก่อนหน้านี้ ทนายความของแอม ออกมายืนยันบอกว่ามั่นใจว่าแอมไม่ได้ทำผิด เพราะเรื่องของหลักฐานที่หลายคดีไม่มีประจักษ์พยานหรืออะไรชี้ชัดได้ว่าแอมเป็นคนลงมือวางยาเหยื่อ นายปรเมศวร์ มองว่าแม้หลายคดีจะไม่หลงเหลือผลชันสูตร แต่จากลำดับเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆที่สอดคล้องกันไปหมด รวมถึงคำให้การจากพยาน 1 ใน 15 รายที่รอดชีวิต ก็เชื่อว่าศาลจะรับฟัง
นายปรเมศวร์ ยังบอกว่า หลังจากนี้ต้องจับตาดูปลายทางของแอม ซึ่งถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ในลักษณะการฆาตกรรมต่อเนื่อง ที่กินระยะเวลานาน และรุนแรงแบบไม่เคยมีมาก่อน แต่ถึงแม้โทษสูงสุดคือประหารชีวิต แต่ไม่ใช่ทุกคดีที่จะได้รับโทษนี้
โดยโทษประหารที่ถูกใช้จริง ล่าสุดในประเทศไทย คือ คดีฆ่าชิงทรัพย์ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 ที่จังหวัดตรัง ผู้ก่อเหตุเป็นชายวัยรุ่น ใช้มีดแทงนักเรียนชั้น ม. 5 นับ 10 แผล และชิงทรัพย์รวมมูลค่า 2,000 บาท ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ส่วนการตรวจสอบประวัติพบว่าเคยก่อคดียาเสพติดและครอบครองอาวุธปืนมาหลายคดี ต่อมาเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจนถึง ปี 2561 กรมราชทัณฑ์จึงได้บังคับโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาของศาล ด้วยการฉีดสารพิษ