“วิธีหมุนลูกบิดประตู” งานวิจัยแปลก คว้ารางวัลอิกโนเบล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ญี่ปุ่นคว้ารางวัลอิกโนเบลจากงานวิจัย “วิธีหมุนลูกบิดประตู”  

รางวัลอิกโนเบล คือ รางวัลที่มอบให้แก่ผู้สรรค์สร้างผลงานที่ฟังดูอาจน่าขบขันแต่กลับชวนให้เราต้องคิดตาม (Laugh, then Think) เรียกได้ว่าเป็นรางวัลที่ต่างกันชนิดคนละขั้วกับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) เลยละ 

เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อรางวัลที่เป็นมุขตลกล้อเลียนรางวัลโนเบล จากการเล่นคำว่า “noble” ที่แปลว่าผู้ดี เปลี่ยนเป็นคำคู่ตรงข้าม “ignoble” ที่แปลว่าไม่น่านับถือ ซะงั้น จึงกลายเป็นแฝดคนละฝากันไปเลยก็ว่าได้ 

คอนเทนต์แนะนำ
รู้จัก "ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา( Virtual Bank)" แบงก์รูปแบบใหม่กำลังมา
Eisai ผลิตยารักษาอัลไซเมอร์ หวังอนุมัติใช้ในญี่ปุ่นภายในปีนี้

รางวัลอิกโนเบลนั้นมีคำขวัญประจำงานว่า “รางวัลที่ทำให้คุณหัวเราะในตอนแรก แล้วจึงทำให้ได้คิดในภายหลัง” จัดมอบรางวัลทุกปีราว 1 เดือนก่อนการประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาต่าง ๆ ที่สแกนดิเนเวีย โดยในปี 2022 ที่ผ่านมาผู้ชนะได้รับถ้วยรางวัลที่ทำจากกระดาษ รวมทั้งธนบัตรมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ซิมบับเว (ประมาณ 32.85 บาท) อีกด้วย   

มาดูตัวอย่างกัน ศาสตราจารย์ เก็น มัตซึซากิ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งจังหวัดชิบะ ได้ทดสอบให้อาสาสมัคร 32 คน หมุนลูกบิดประตูที่มีขนาดต่างกันทั้งหมด 47 ขนาดด้วยกัน ก่อนจะได้ข้อสรุปว่าการหมุนลูกบิดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.ขึ้นไป จะต้องใช้นิ้วมือจับอย่างน้อย 3 นิ้ว แต่กับลูกบิดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2.5 ซม. ไปจนถึง 5 ซม. จะต้องใช้นิ้วมือจับอย่างน้อย 4 นิ้ว และ 5 นิ้ว ตามลำดับ 
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมวิทยาศาสตร์การออกแบบแห่งญี่ปุ่น ระบุว่ายิ่งลูกบิดมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ยิ่งต้องใช้นิ้วมาจับมากขึ้น แต่เราไม่สามารถใช้นิ้วทั้ง 5 จับลูกบิดที่มีขนาดเล็กมากในคราวเดียวกันได้ 

ความรู้เพิ่มเติม 
ส่วนรางวัลอิกโนเบลในสาขาอื่น ๆ มีดังนี้ 
สาขาฟิสิกส์ตกเป็นของศ. แฟรงก์ ฟิช และคณะ จากมหาวิทยาลัยเวสต์เชสเตอร์ในสหรัฐฯ โดยพวกเขาทำการทดลองให้ลูกเป็ดว่ายน้ำตามหุ่นยนต์แม่เป็ดในแทงค์น้ำขนาดใหญ่ จนพบว่าการว่ายน้ำตามกันเป็นเส้นตรงจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยผ่อนแรงให้ลูกเป็ดตัวที่อยู่หลังสุด 
สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ การวิเคราะห์ภาพเขียนบนเครื่องปั้นดินเผาของชาวมายาช่วงศตวรรษที่ 6-9 โดยดร.นิโคลัส เฮลล์มุต จากมูลนิธิเพื่อการวิจัยทางมานุษยวิทยาแห่งละตินอเมริกา ชี้ว่ามีการใช้แอลกอฮอล์และสมุนไพรสวนทวารเพื่อหลอนประสาท สร้างความสนุกสนานครึกครื้นในงานเลี้ยงยุคโบราณด้วย 

สาขาวรรณกรรม งานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT) ซึ่งให้คำตอบว่าเหตุใดเอกสารทางกฎหมายจึงอ่านทำความเข้าใจได้ยากนัก คว้ารางวัลประจำปีนี้ไปครอง หลังระบุได้ว่าเอกสารประเภทนี้อ่านยากไม่ใช่เพราะแนวคิดทางกฎหมายที่ซับซ้อน แต่เป็นเพราะทักษะการเขียนที่ย่ำแย่ โดยชอบใช้ประโยคความซ้อนมากเกินจำเป็น แทนที่จะแยกออกมาเป็นประโยคความเดียว  
สาขาสันติภาพ จากผลงานคิดค้นอัลกอริทึมที่ช่วยบอกได้ว่าควรจะโกหกหรือพูดความจริงเวลาซุบซิบนินทา โดยอัลกอริทึมนี้ให้คำแนะนำกับมนุษย์ได้โดยใช้หลักการที่ว่า มนุษย์ซุบซิบนินทาและปล่อยข่าวลือ เพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้คนที่เรารัก และส่งต่อข้อมูลที่เป็นโทษให้คนที่เราเกลียด
 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ไอที
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ