จากกรณีที่ Resecurity ออกมาเปิดเผยว่า ในเดือนมกราคม ปี 67 พบว่ามีข้อมูลของชาวไทยที่สามารถใช้ระบุตัวตนได้ หรือ Personal Identifiable Information (PII) รั่วไหลมากกว่า 27 ล้านบัญชี โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐอย่าง กรมกิจการผู้สูงอายุ ที่มีข้อมูลรั่วไหลเกือบ 20 ล้านชุด หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เผยว่ารั่วไหลกว่า 3,149,330 บัญชี
ทำให้หลายฝ่ายเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุและการศึกษาแล้ว ยังเคยมีหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ถูกโจมตีบ้างหรือไม่?
เกือบขิต! Apple Watch ช่วยชีวิตเจ้าของจาก 'ลิ่มเลือดอุดตันในปอด'
YouTube มีแผนพัฒนาแอปฯ ให้ใช้งานได้บน Apple Vision Pro
"ณัฐพงษ์" ชี้ กรณีข้อมูลภาครัฐรั่วไหล ส่วนใหญ่มาจากคนใน
โดยเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ได้เผยสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่มีต่อหน่วยงานหลายภาคส่วน ในปี 2566 เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม
จากสถิติจะพบว่า หน่วยงานที่ถูกโจมตีทางไซเบอร์มากสุดในปี 2566 จะเป็นหน่วยงานด้านการศึกษา ซึ่งโดนโจมตีไปกว่า 111 ครั้ง ในเดือนมกราคม ก่อนที่จะรวมสถิติการโดนโจมตีตลอดปีกว่า 632 ครั้ง รองลงมาจะเป็นหน่วยงานรัฐด้านอื่น ๆ ที่โดนโจมตีกว่า 461 ครั้ง และนอกจากหน่วยงานรัฐแล้ว ผู้ประกอบการพาณิชย์ที่เป็นบริษัทเอกชน สัญชาติไทย ยังโดนโจมตีสูงสุดอันดับ 3 ในปี 2566 ที่ 148 ครั้ง
ส่วนรูปแบบการโจมตีหรือภัยคุกคามที่พบบ่อยที่สุดในปี 2566 จะเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ กว่า 515 ครั้ง รองลงมาเป็น การลอบเจาะระบบเพื่อเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ 336 ครั้ง และการสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อดักล้วงข้อมูล กว่า 301 ครั้ง
ซึ่งนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ออกมาให้ความเห็นว่า รัฐควรเร่งดำเนินนโยบาย Cloud First Policy ที่ทำให้รัฐสามารถบริหารจัดการให้ทุกแอปฯ หรือทุกบริการดิจิทัลของภาครัฐ มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยแบบเดียวกัน สามารถจัดการได้อย่างรวมศูนย์ และมีหน้าที่ดูแลรักษาและวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยได้เองทั้งหมด
ขอบคุณข้อมูลจาก สกมช.
9 ก.พ. ไหว้ตรุษจีน 2567 จุดธูปกี่ดอก เวลาไหนดี พร้อมทิศมงคลเสริมเฮง
สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น กทม. – 8 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง