พบรอยเท้าสัตว์กีบใช้ทางเชื่อมผืนป่าทับลาน มากขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังกรมทางหลวงและกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดใช้ทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกหรือ คอลิดอร์ บนถนนสาย 304 อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี – อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มากว่า 8 เดือน พบว่า เริ่มมีสัตว์ป่าจากอุทยานแห่งชาติทับลาน ใช้ทางนี้ ข้ามไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จำนวนมากขึ้น

เมื่อวันที่ (15 พ.ย.62) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ขึ้นไปสำรวจบนอุโมงค์ทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก พื้นที่กว่า 3 กิโลเมตร  ซึ่งปัจจุบันมีสภาพค่อนข้างรกเต็มไปด้วยวัชพืชและต้นไม้ขนาดเล็กที่เจ้าหน้าที่นำมาปลูกไว้ ขณะที่บริเวณโป่งเทียม และบ่อน้ำ พบรอยเท้าสัตว์กีบเหยียบย่ำอยู่ทั่วไป มีทั้งรอยเก่าและใหม่ เจ้าหน้าที่ ระบุว่า น่าจะเป็นรอยเท้ากวางที่มาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน มากินโป่งเทียมและข้ามไปฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เปิดใช้ทางเชื่อมผืนป่า “เขาใหญ่ – ทับลาน”

โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ตั้งกล้องดักถ่าย ก็สามารถบันทึกภาพกวาง เลียงผา และมี ไก่ฟ้าบางส่วน ที่เข้ามาใช้ทางเชื่อมนี้ด้วย และพบว่ามีแนวโน้มที่สัตว์ใหญ่อย่างกระทิง ช้างและ เสือโคร่ง จะเข้ามาใช้ทางเชื่อมนี้ หลังเจ้าหน้าที่พบร่องรอยของสัตว์

สำหรับทางเชื่อมสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 304 สาย อำเภอกบินทร์บุรี-อำเภอปักธงชัย เริ่มก่อสร้างปี 2558  งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท จุดประสงค์ เพื่อลดการบาดเจ็บของสัตว์ป่าที่ข้ามไปมาบนถนนนี้ และต้องการให้สัตว์ใหญ่ อย่าง เสือ และช้างข้ามไปมาระหว่าง 2 ผืนป่า คือ อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์ ป้องกันเลือดชิด (ผสมพันธุ์​กันเองในหมู่พ่อแม่ลูกทำให้สัตว์อ่อนแอ)

ทั้งนี้ถือเป็นทางเชื่อมสัตว์แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นทางเชื่อมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียใต้ ปัจจุบันพบสัตว์ป่าข้ามไปมาจำนวนมากขึ้น แต่รั้วกั้นตามแนวทางเชื่อมกับชุมชนยังมีระยะทางไม่ยาวพอ กรมอุทยานฯ กังวลว่า หากสัตว์เข้ามาใช้ทางเชื่อมมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน จึงเตรียมเสนอของบประมาณเพื่อสร้างรั้วต่อไป

ยันสร้างทางเชื่อมป่า ถนน 304 ตามข้อกำหนด "อีไอเอ" 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ข่าวกีฬา
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ